เกือบจะครึ่งทางของการเดินทางในช่วงตั้งครรภ์แล้วนะคะ ก่อนหน้านี้คุณแม่อาจจะยังไม่รู้สึกถึงลูกน้อยในท้อง แต่สัปดาห์นี้ คุณแม่จะเริ่มรู้สึกถึงการดิ้นของลูก และต่อจากนี้จะเริ่มผูกพันธ์กับลูกน้อยมากขึ้นเรื่อยๆ ค่ะ สัปดาห์นี้มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ไปติดตามกันนะคะคุณแม่
Highlight
สัปดาห์นี้ลูกเริ่มสร้าง Brown fat ที่จะช่วยสร้างความอบอุ่นให้ร่างกาย
ลูกได้เริ่มสร้างแผ่นขาวๆ เคลือบตัว เพื่อป้องกันผิวจากน้ำคล่ำ ที่เราเรียกว่า vernix caseosa
ปอดของลุกได้พัฒนามากขึ้น หลอดลม ก็ได้เริ่มพัฒนามากขึ้น
กล้ามเนื้อ และกระดูกเริ่มแข็งแรง เลยขยับมากขึ้น คุณแม่จึงอาจจะเริ่มรู้สึกถึงลูกดิ้นได้แล้ว
สัปดาห์นี้ลูกเป็นอย่างไร?
สัปดาห์นี้ลูกมีขนานเท่าผลมะม่วงค่ะ ขนาดยาวประมาณ 7 นิ้ว สัปดาห์นี้กระดูก กล้ามเนื้อของลูกแข็งแรงมากขึ้น เค้าจะเริ่มขยับตัวบ่อย ถีบขาเก่ง ทำให้คุณแม่หลายๆ ท่าน อาจรู้สึกถึงลูกดิ้นบ้างแล้วนะคะ
ชั้นไขมันใต้ผิวของลูก เริ่มมีการสร้าง Brown Fat ซึ่งเป็นไขมันที่จะช่วยสร้างความอบอุ่นให้ร่างกาย เป็นไขมันดีที่ช่วยในการเผาผลาญพลังงาน นอกจากนี้ผิวชั้นนอกของลูกได้สร้างแผ่น vax เคลือบเพื่อป้องกันผิวลูกน้อย จากการสัมผัสน้ำคล่ำเป็นเวลานาน เราจะเรียกว่า vernix caseosa ถ้าไม่มี Vernix เคลือบผิวจะทำให้ผิวของลูกดูเหี่ยวๆ ได้ และ Vernix จะค่อยๆ ลดลงในช่วงใกล้คลอดค่ะ
อวัยวะที่บ่งบอกเพศของลูกได้พัฒนาจนเกือบจะสมบูรณ์แล้ว และในการฝากท้องในสัปดาห์หน้า คุณหมออาจจะสามารถบอกเพศของลูกคุณแม่ได้ จากอัลตร้าซาวด์แล้วค่ะ
อาการของคุณแม่ในสัปดาห์ที่ 19
สัปดาห์ที่ 19 แล้ว คุณแม่อาจจะเริ่มชินกับอาการต่างๆ ที่พบได้เรื่อยๆ ตลอดการตั้งครรภ์ ในสัปดาห์นี้อาการที่อาจพบกับคุณแม่ได้คือ
รู้สึกถึงลูกดิ้น การรับรู้ถึงลูกดิ้น ขึ้นกับแต่ละบุคคลรวมถึงขนาดหน้าท้องค่ะ ซึ่งสามารถรู้สึกได้ตั้งแต่ 16-22 สัปดาห์เลย ความรู้สึกถึงลูกดิ้นในครั้งแรกอาจเป็นความรู้สึกเหมือนมีผีเสื้อบินในท้อง หรือเหมือนมีอะไรหมุนๆ ในท้องมากกว่าความรู้สึกที่ลูกดิ้นจริงๆ ซึ่งคุณแม่จะรู้สึกมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น
เวียนศีรษะ หน้ามืดได้ง่าย เนื่องจากมดลูกที่ขยายมากขึ้น อาจไปกดทับการไหลเวียนเลือดกลับจากขา ไปสู่หัวใจ ทำให้ถ้าคุณแม่ ลุกนั่งเร็วๆ อาจทำให้เกิดอาการหน้ามืดได้ง่าย
ปวดตรงอุ้งเชิงกราน หรือ Round Ligament Pain จากการที่มดลูกขยาย ทำให้มีการยืดของ Round ligament อาจทำให้รู้สึกเจ็บแปล๊บๆ ได้
Tip สำหรับสัปดาห์นี้
ลุกนั่งหรือเปลี่ยนท่าช้าๆ ป้องกันอาการหน้ามืด
ทานอาหารที่เป็น Superfood เช่น Flaxseed Chia seed salmon
ยืดร่างกายบ่อยๆ เพื่อลดอาการกดเกร็งของกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดต่างๆ
ตอนนอนแนะนำนอนตะแคงซ้าย เพื่อลดการกดทับของเส้นเลือดกลับเข้าสู่หัวใจ
ทาครีมบำรุงหน้าท้อง และนวดขาก่อนนอนเพื่อความผ่อนคลาย
ใกล้สิ้นสุดเดือนที่ 5 ของการตั้งครรภ์แล้วนะคะ สัปดาห์ที่ 20 จะเป็นอย่างไรบ้าง ไปติดตามกันค่ะ
ขอให้คุณแม่สุขภาพแข็งแรงนะคะ
เขียนโดย
พญ. ทานตะวัน จอมขวัญใจ หมอหน่อย (Tantawan Jomkwanjai.MD)
Comments