top of page
รูปภาพนักเขียนdrnoithefamily

สัปดาห์ที่ 26 ของการตั้งครรภ์ : 26 weeks pregnancy เกิดอะไรขึ้นบ้างในสัปดาห์ที่ 26

อัปเดตเมื่อ 11 พ.ย. 2567

ยินดีด้วยนะคะ ตอนนี้คุณแม่เดินมาเข้าสู่เดือนที่ 6 ของการตั้งครรภ์แล้วค่ะ ตอนนี้ท้องเริ่มโตชัดขึ้น ลูกของเราก็โตขึ้นเช่นกันค่ะ สัปดาห์นี้จะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ไปติดตามกันค่ะ



Highlight

  • ม่านตาของลูกเริ่มมีการสะสมเม็ดสีแล้ว แต่อาจจะยังมองสีตาไม่ชัดนะคะ

  • นอกจากสีตาแล้ว ขนตาของลูก ก็เริ่มค่อยๆ ยาวออกเช่นกันค่ะ

  • ปอดของลูกเริ่มมีการทำงานมากขึ้น มีการฝึกการกลืนบ่อยๆ

  • เริ่มมีเล็บงอกออกมาจากฐานเล็บแล้วค่ะ


สัปดาห์นี้ลูกเป็นอย่างไร?


สัปดาห์นี้ลูกมีขนาดยาวประมาณ 12-13 นิ้ว น้ำหนักประมาณ 1,000 กรัมแล้วนะคะ ขนาดเท่าลูก squash นอกจากตัวจะโตขึ้นแล้วเค้ายังมีพัฒนาการอื่นๆ ที่ดีขึ้นกว่าเดิมค่ะ

  • ปอด : ตอนนี้ปอดก็ได้พัฒนาต่อเนื่องเรื่อยๆ ลูกเราก็ขยันฝึกหายใจ อาจทำให้มีการสะอึกบ่อยๆ ได้คุณแม่อาจรู้สึกกระตุกที่หน้าท้องได้ค่ะ

  • สมอง : สมองได้มีการสร้างคลื่นสมองมากขึ้น ทำให้ลูกเริ่มมีการประมาณผล เริ่มสามารถตอบสนองการกระตุ้นบางอย่างได้ เช่น ตอบสนองเมื่อมีการพูดคุย ตอบสมองเมื่อเห็นแสง

  • การได้ยิน : ตอนนี้การได้ยินของลูกดีขึ้น เค้าได้ยินเสียงคุณแม่มากขึ้น สามารถคุยกับเค้าบ่อยๆ ได้เลยนะคะ

  • การมองเห็น : ตอนนี้ม่านตาได้เริ่มมีการสะสมเม็ดสีแล้ว แต่อาจจะไม่สามารถบอกได้นะคะว่าตาลูกจะเป็นสีอะไร ตาของลูกเริ่มเปิดเล็กๆ แล้ว สัปดาห์หน้า ลูกอาจจะเริ่มเล่นจ๊ะเอ๋กับเราได้แล้วค่ะ

  • เล็บ: เล็บของลูกเริ่มยาวออกมา ซึ่งหลังคลอด อาจจะยาวพอที่จะข่วนหน้าตัวเอง หรือข่วนคุณพ่อคุณแม่ได้แล้วค่ะ



อาการของคุณแม่ในสัปดาห์ที่ 26


อาการนอนไม่หลับ

เมื่ออายุครร์มากขึ้น คุณแม่มักจะมีอาการนอนไม่หลับได้บ่อย ซึ่งมาจากหลายสาเหตุ เช่น ปัสสาวะบ่อยต้องตื่นมาเข้าห้องน้ำ มีอาการเหน็บชา ลูกดิ้นบ่อยช่วงที่นอน นอนไม่สบายจากท้องที่โตขึ้น มีการกรดไหลย้อนบ่อยตอนนอนราบ


Pregnancy Brain

ในช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่จะมีอาการ Brain fog ได้บ่อยๆ หลงๆ ลืมๆ หรือคิดอะไรไม่ค่อยออก ซึ่งเป็นอาการปกติที่พบได้บ่อยในช่วงตั้งครรภ์


ความดัน

ในสัปดาห์นี้ขึ้นไป คุณหมออาจเริ่มติดตามความดันของคุณแม่ หากความดันมากกว่า 140/90 mmHg อาจมีความเสี่ยงครรภ์เป็นพิษ ซึ่งคุณหมอต้องมีการติดตามเป็นพิเศษค่ะ


Tip สำหรับสัปดาห์นี้


  • ออกกำลังกายเบาๆ สม่ำเสมอ การออกกำลังกายช่วยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการช่วยให้หลับได้ง่ายขึ้น ลดความดัน เบาผลาญน้ำตาล

  • ลดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน หรือทานในปริมาณจำกัด และไม่ควรทานในช่วงมื้อเย็น เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการนอนค่ะ

  • เสริมสารอาหารต่างๆ ให้เพียงพอ โฟกัสอาหารที่มี Magnesium สูง เช่น กลุ่มถั่วต่างๆ หรือสามารถเสริมอาหารที่มี magnesium เพื่อลดอาการตะคริวและอาการครรภ์เป็นพิษ

  • เสริมโปรตีน โคลีน DHA อย่างต่อเนื่อง

  • หาข้อมูลเพิ่มเติมในการเตรียมของสำหรับลูกน้องในช่วงหลังคลอด


ผ่านไปแล้ว 26 สัปดาห์ มาร่วมเดินทางไปสู่สัปดาห์ที่ 26 ไปด้วยกันนะคะ ขอให้คุณแม่และตัวเล็กมีสุขภาพที่แข็งแรงค่ะ


เขียนโดย


พญ. ทานตะวัน จอมขวัญใจ หมอหน่อย (Tantawan Jomkwanjai.MD)








ดู 18 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page