เย้ๆ เดือนทางมาสู่เดือนสุดท้ายของไตรมาสที่ 2 แล้วนะคะ สัปดาห์หน้า คุณแม่จะเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 แล้ว ในสัปดาห์นี้จะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ไปติดตามกันค่ะ
Highlight
การได้ยินของลูกดีมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่ สามารถพูดคุยกับลูกต่อเนื่องได้เลยนะคะ
เค้าได้มีการฝึกหายใจอย่างต่อเนื่อง หนูเลยอาจมีอาการสะอึกบ่อยๆ ค่ะ
ตาของลูกเปิดปิดไปมาได้แล้ว เค้าจะตอบสนองต่อแสงได้ดีเลยค่ะ
สมองของลูกพัฒนามากกว่าเดิม ตั้งแต่ช่วงนี้เป็นต้นไปค่ะ
สัปดาห์นี้ลูกเป็นอย่างไร?
สัปดาห์นี้ลูกมีขนาดยาวประมาณ 14.5 นิ้ว ขนาดเท่า หัวกระหล่ำปลี เลยค่ะ ตัวเค้าใหญ่กว่าเดิมมาก ถ้าเทียบกับตอน 4 สัปดาห์ก่อนนะคะ
การได้ยิน : การได้ยินของลูกดีขึ้นนะคะ ช่วงนี้คุณแม่สามารถพูดคุยกับลูกบ่อยๆ คุณพ่อคุณแม่ สามารถร้องเพลง อ่านหนังสือ หรือเปิดเพลงเบาๆ ให้ลูกฟังได้ การพูดคุยกับลูกบ่อยๆ จะทำให้เค้าคุ้นชินกับเสียงของคุณพ่อคุณแม่ ทำให้สามารถรู้สึกสงบมากขึ้นเวลาได้ยินเสียงของคุณพ่อคุณแม่หลังเค้าเกิดมาค่ะ
คุณพ่อ อาจลองเอาดูแนบท้องคุณแม่ได้นะคะ สัปดาห์นี้คุณพ่อ จะได้ยินเสียงหัวใจน้องชัดเจนมากขึ้นแล้วค่ะ
สมอง : สมองของลูก Active มากขึ้นนะคะ อาจดูได้จากการที่ลูกขยับ ดิ้น ตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ รอบตัว ดังนั้น สารอาหารสำคัญในการสร้างสมองของน้อง ควรทานอย่างต่อเนื่องค่ะ
ปอด: ปวดได้สร้างสาร surfactance อย่างต่อเนื่อง ลูกยังพยายามฝึกใช้กล้ามเนื้อหายใจ แต่เนื่องจากเค้ายังไม่เก่ง อาจทำให้มีอาการสะอึกบ่อยๆ ค่ะ
ตา: ตอนนี้ลูกสามารถ เปิด-ปิด ตา ได้เอง ทำให้อาจเห็นลูกลืมตา หรือหลับตาก็ได้เมื่อไป Ultrasound นอกจากนี้ ลูกก็ตอบสนองต่อแสงได้ดีมากๆ ค่ะ
อาการของคุณแม่ในสัปดาห์ที่ 26
ขนขึ้นตามตัว
ในช่วงตั้งครรภ์ จะสังเกตุว่าผมของคุณแม่แข็งแรง ไม่ค่อยร่วง เนื่องจากในช่วงนี้ทั้งผม และขน จะอยู่ในช่วง Growth phase หรือ Anaphase แม้ว่าผมจะสวย แต่อาจจะส่งผลให้ขนตามพื้นที่ต่างๆ ดูเยอะและมากขึ้น หากคุณแม่ต้องการจำกัดขน อาจใช้การ wax หรือการโกนในช่วงสั้นๆ แต่ไม่แนะนำใหำทำ laser
Restless leg
ในช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่จะมีอาการ ชา หรือเหน็บชา หรือเจ็บแปล๊บที่ขาทั้ง 2 ข้าง หรือข้างใดข้างนึงก็ได้ เราเรียกอาการนี้ว่า Restless leg ซึ่งพบได้ 20% ของคุณแม่ตั้งครรภ์ และพบมากขึ้น ในไตรมาสที่ 3 โดยมักสัมพันธ์ การไหลเวียนเลือดที่เปลี่ยนแปลง ฮอร์โมนของการตั้งครรภ์ รวมถึงการขาดสารอาหารกลุ่ม ธาตุเหล็ก และโฟเลต ก็ทำให้อาการเป็นมากขึ้นได้
การดูแลตัวเองในช่วงนี้เพื่อลดอาการ Restless leg คือ การดื่มน้ำมากๆ ยืดเส้นยืดสาย การนวดก็ช่วยลดอาการได้ ซึ่งอาการนี้จะดีขึ้นเองในช่วงหลังคลอดค่ะ
Tip สำหรับสัปดาห์นี้
เริ่มฝึกการทำ Kegel exercises
การทำ Kegel เป็นการฝึกบริหารอุ้งเชิงกราน หรือการขมิบอุ้งเชิงกรานบ่อยๆ ประโยชน์ของการทำ Kegel exercises คือ
- ช่วยไม่ให้ปัสสาวะรั่ว กลั้นปัสสาวะได้มากขึ้น
- ช่วยลดอาการของริดสีดวงทวาร
- ช่วยในช่วงการคลอด
- ช่วยให้กระชับเวลามีเพศสัมพันธ์
วิธีทำ Kegel
ให้ขมิบเหมือนเราพยายามอั้นปัสสาวะและอั้นไม่ให้ผายลมในเวลาเดียวกัน โดยใช้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ไม่ใช้หน้าท้อง อาจหนีบขาเข้าหากัน จะช่วยให้ทำง่ายขึ้น ทำค้างไว้ประมาณ 5 วินาที ทำประมาณ 10-15 ครั้งต่อ set วันละอย่างน้อย 3 set ต่อวัน จะได้ผลดีค่ะ
ผ่านไปแล้ว 27 สัปดาห์ สัปดาห์หน้าคุณแม่จะเข้าไตรมาสที่ 3 แล้ว มีอะไรเปลี่ยนแปลงตาม ฝากติดตามต่อเนื่องด้วยนะคะ
เขียนโดย
พญ. ทานตะวัน จอมขวัญใจ หมอหน่อย (Tantawan Jomkwanjai.MD)
Kommentare