สัปดาห์ที่ 30 แล้วนะคะคุณแม่ ตอนนี้เดือนที่ 7 ของการตั้งครรภ์ แล้ว อีกแค่ 2 เดือน คุณแม่ก็จะได้เจอตัวเล็กของคุณแม่แล้วนะคะ สัปดาห์นี้จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ไปติดตามกันค่ะ
Highlight
สมองของลูกพัฒนามากขึ้น ตอนนี้เค้าก็เริ่มเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบๆ ตัวลูกค่ะ
ขนอ่อน หรือ Lanugo ที่ปกคลุมตัวลูก ตอนนี้เริ่มค่อยๆ หลุดร่วงนะคะ
ผมของลูกค่อยๆ ยาวขึ้น
ท้องของคุณแม่โตขึ้น อาจดันสะดือให้ Pop Up ออกมาได้ค่ะ
สัปดาห์นี้ลูกเป็นอย่างไร?
สัปดาห์นี้ลูกมีขนาดยาวประมาณ 16 นิ้ว ขนาดเท่า ผลบีทรูท แล้วค่ะ น้ำหนักตอนนี้ได้ 1,600 กรัม แล้วค่ะ นอกจากลูกจะตัวโตขึ้นแล้ว ตอนนี้เค้าก็มีพัฒนาการด้านอื่นๆ เช่นกันค่ะ
สมอง : สัปดาห์นี้สมองของลูกจะเพิ่มรอยหยักมากขึ้น เป็นการเพิ่มพื้นที่การจัดเก็บข้อมูลของสมอง
ผิว : ผิวของลูก ได้มีการสร้าง melanocyte ที่จะบ่งบอกสีผิวในอนาตค แต่จะยังดูไม่ออกชัดเจนนะคะ ผิวของลูกจะไปชัดเจนที่ 6 เดือนหลังคลอดค่ะ
เส้นขน : สัปดาห์นี้ Lanugo หรือขนอ่อนที่เคยปกคลุมตัวลูก เริ่มค่อยๆ หลุดร่วงไปค่ะ ซึ่งขนอ่อนนี้จะหลุดร่วงไปเกือบหมดในช่วงก่อนคลอดค่ะ
การมองเห็น: ตอนนี้ม่านตาของลูก มีการขยาย และหด ตอบสนองต่อแสง เป็นพัฒนาการหนึ่งที่เป็น reflex สำคัญจากสมองของลูกน้อย
อาการของคุณแม่ในสัปดาห์ที่ 30
ไตรมาสที่ 3 คุณแม่อาจจะมีอาการอื่นๆ ที่ต้องติดตามนะคะ
สะดืออาจ Pop up ออกมา
ท้องที่โตขึ้นของคุณแม่ อาจทำให้สะดือ pop up ออกมาทางด้านนอก คุณแม่อาจรู้สึก sensitive เวลาสัมผัสได้ ซึ่งสะดือของคุณแม่จะกลับเป็นปกติในช่วงหลังคลอดค่ะ ใน rare case ถ้ามีภาวะ umbilical hernia หรือ การที่ลำไส้ ผ่านชั้นกล้ามเนื้อหน้าท้องมาอยู่บริเวณสะดือ ถ้าลำไส้มีอาการขาดเลือด อาจมีอาการปวด และเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรีบไปพบแพทย์
Brown discharge
ในช่วงนี้บางมดลูกจะมึความบอบบางมาก ทำให้อาจทำให้มีเลือดสีน้ำตาลออกมาหลังมีเพศสัมพันธ์ หรือหลังการตรวจภายในได้ ซึ่งเป็นอาการปกติ
อาการอ่อนเพลีย
ในช่วงสัปดาห์นี้ คุณแม่อาจเริ่มมีอาการอ่อนเพลียคล้ายกับในช่วงไตรมาสที่ 1 ค่ะ สาเหตุมากจากการที่แม่ต้องใช้พลังงานในการเจริญเติบโตของลูก แต่ด้วยความที่ท้องใหญ่ขึ้น ทานเยอะๆ ลำบาก ทำให้คุณแม่ยิ่งมีอาการอ่อนเพลียมากขึ้น การที่ต้องแบกท้องหนักๆ การนอนหลับไม่สนิท ภาวะซีด ภาวะขาดโปรตีน ก็ทำให้คุณแม่มีอาการอ่อนเพลียได้เช่นกันค่ะ
Tip สำหรับสัปดาห์นี้
เพื่อลดอาการอ่อนเพลีย คุณแม่ควรทานสารอาหารให้เพียงพอ โดยเฉพาะกลุ่มโปรตีน ไขมันดี และคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน นอนพักให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้เพียงพอ
คุณแม่อาจเริ่มจัดห้อง หรือวางแผนการนอนของตัวเล็กได้แล้วค่ะ โดยควรเตรียมที่นอนให้ลูกให้เหมาะสม ซึ่งหมอหน่อยจะมาแชร์เรื่องนี้อีกทีนะคะ
แนะนำให้ฉีดวัคซีน Tdap ในช่วงตั้งครรภ์ 27-36 สัปดาห์ หรืออย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนคลอด เพื่อให้สามารถสร้างภูมิคุ้มกันส่งไปให้ทารกในครรภ์ได้ทันก่อนคลอด (อ่านเพิ่มเติมเรื่อง การฉีดวัคซีนช่วงตั้งครรภ์)
ผ่านไปแล้ว 30 สัปดาห์ สัปดาห์นี้คุณแม่อาการเป็นยังไงบ้าง มาเล่าให้หมอหน่อยฟังบ้างนะคะ แล้วมาติดตามกันใหม่ในสัปดาห์ที่ 31 ค่ะ
เขียนโดย
พญ. ทานตะวัน จอมขวัญใจ หมอหน่อย (Tantawan Jomkwanjai.MD)
Comments