top of page
  • YouTube
  • Facebook
  • Instagram
  • LinkedIn

สัปดาห์ที่ 33 ของการตั้งครรภ์ : 33 weeks pregnancy เกิดอะไรขึ้นบ้างในสัปดาห์ที่ 33

รูปภาพนักเขียน: drnoithefamilydrnoithefamily

สัปดาห์ที่ 33 เป็นช่วงกลางของไตรมาสที่ 3 แล้วนะคะ คุณแม่เดินทางมาได้ไกลมากๆ ตอนนี้ใกล้มากๆ แล้วที่จะได้เจอตัวเล็ก ในสัปดาห์นี้จะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ไปติดตามในบทความนี้ได้เลยค่ะ



Highlight


  • กระโหลกศีรษะของลูกยังคงนิ่มและยังไม่ติดกัน เพื่อให้ง่ายในช่วงคลอด

  • น้ำคล่ำไม่ได้สร้างเพิ่มแล้ว ตอนนี้พื้นที่ขยับของลูกจะน้อยลงเมื่อเทียบกับขนาดตัว

  • ลูกได้มีการฝึกกลืนน้ำคล่ำบ่อยขึ้น เป็นการฝึกเพื่อเตรียมเดบิลออกมาด้านนอก

  • ลูกได้มีการลืมตาตอนตื่น หลับตาตอนนอน และเห็นแสงผ่านทางหน้าท้องชัดเจนมากขึ้น


สัปดาห์นี้ลูกเป็นอย่างไร?


สัปดาห์นี้ลูกมีขนาดยาวประมาณ 17.3 นิ้ว หรือขนาดเท่าลูก Butternut


  • Skull flexibility : กะโหลกศีรษะลูกจะประกอบไปด้วยกระดูก 5 ชิ้น ซึ่งจะยังไม่รวมกันดีและยังสามารถยืดหยุ่นได้ เพื่อให้ตอนคลอดผ่านช่องคลอด ศีรษะสามารถปรับได้ให้ง่ายต่อการผ่านออกมา โดยกระโหลกศีรษะของลูก จะมีส่วนที่เชื่อมอยู่ เราจะเรียกว่า fontanelles ซึ่งจะเริ่มปิดในช่วงหลังคลอด จะปิดสมบูรณ์ตอนลูกอายุประมาณ 18 เดือน


  • พื่นที่ในท้องคุณแม่จะลดลง : ปกติน้ำคล่ำจะถูกสร้างเต็มที่ในสัปดาห์ที่ 33 นี้ ดังนั้นพื้นที่ในตอนนี้ ถ้าเทียบกับขนาดตัวของลูกแล้ว อาจทำให้ห้องดูคับๆ มากขึ้น ทำให้ลูกอาจจะพลิกตัวอยากขึ้น การนับลูกดิ้นจึงยังสำคัญเพื่อติดตามสุขภาพของลูกน้อยค่ะ


  • ความยาวเริ่มคงที่ : ในสัปดาห์นี้เป็นต้นไป ความยาวของลูกอาจไม่ได้เพิ่มขึ้น จะมีแค่น้ำหนักตัวที่เริ่มเพิ่มอย่างรวดเร็ว อาจมากถึง 250 กรัมต่อสัปดาห์ได้เลยค่ะ และเป็นช่วงสำคัญที่ลูกจะมีการสะสมสารอาหารเช่น ธาตุเหล็ก แคลเซี่ยม ไปใช้ในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอดค่ะ


  • เริ่มรู้จักกลางวัน หรือ กลางคืน ในช่วงนี้ ลูกจะเปิดปิดตา เหมือนเด็กคนนึงเลยค่ะ ตอนตื่นก็ลืมตา ตอนหลับก็หลับตา นอกจากนี้หน้าท้องที่ขยายขึ้น ทำให้แสงผ่านทางหน้าท้องได้มาก ลูกจึงเริ่มรู้จักความสว่างและความมืดบ้างแล้วค่ะ


อาการของคุณแม่ในสัปดาห์ที่ 33


ขี้ร้อนมากขึ้น


ในช่วงตั้งครรภ์คุณแม่อาจจะอยากเปิดแอร์ที่ 19 องศา อาบน้ำเย็นๆ วันละหลายๆ รอบ เนื่องจากจะรู้สึกร้อนมากกว่าปกติ สาเหตุเนื่องมาจากฮอร์โมนของการตั้งครรภ์ และคลื่นความร้อนจากลูก ทำให้คุณแม่อาจจะรู้สึกขี้ร้อนมากกว่าปกติ


Pregnancy brain


ในช่วงนี้แม่อาจจะหลงๆ ลืมๆ หรือคิดอะไรไม่ค่อยออก เราจะเรียกภาวะนี้ว่า Pregnancy brain ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัย ทั้งฮอร์โมนการตั้งครรภ์ การนอนหลับไม่สนิท ความกังวลต่างๆ ทำให้คุณแม่อาจหลงลืมได้บ่อย เทคนิคคือการจดสิ่งที่ต้องทำไว้ และอาจทำตามรายการเพื่อไม่ให้ลืมค่ะ


นอนหลับยากขึ้น


การนอนหลับยากพบได้บ่อยมากในช่วงตั้งครรภ์ สาเหตุมาจากท้องที่โตมากขึ้น อาจรู้สึกอึดอัดตอนนอน หรือการปวดเกร็งที่ขา หรืออาการปวดปัสสาวะตอนกลางคืน หรือความกังวลเรื่องลูก ก็อาจส่งผลให้คุณแม่นอนหลับยากได้ คุณแม่อาจลองใช้หมอนสำหนับคนท้องเพื่อให้การนอนสบายขึ้น อาจหากิจกรรมที่ทำให้หลับสบาย เช่นดื่มเครื่องดื่มอุ่น ฟังเพลง นั่งสมาธิ อ่านหนังสือ หรือให้สามีนวดให้ก่อนนอน ก็อาจช่วยให้หลับสบายขึ้นค่ะ



Tip สำหรับสัปดาห์นี้


  • ไตรมาสที่ 3 แม่ควรให้ความสำคัญต่อ DHA เนื่องจากเป็นช่วงที่ลูกใช้และสะสม DHA จำนวนมาก นอกจาก DHA จะช่วยในการพัฒนาสมองและการมองเห็นของลูกแล้ว ยังช่วยลดภาวะซึมเศร้าในช่วงหลังคลอดได้อีกด้วย คุณแม่ควรทาน DHA 250-500 mg ต่อวัน โดยอาจทานจากอาหาร หรือน้ำมันปลา หรือจากสาหร่ายทะเลก็ได้เช่นกัน

  • นับลูกดิ้นเพื่อเช็คสุขภาพของลูกน้อยอย่างสม่ำเสมอ

  • ทานอาหารที่มีโภชนาการที่ดี โปรตีนสูง น้ำตาลต่ำ ควรทานโปรตีน 75-100 กรัมต่อวัน

  • นอนตะแคงซ้ายเพื่อให้เลือดไหลกลับเข้าสู่หัวใจได้ดีขึ้น

  • ค่อยๆ เปลี่ยนท่า

  • ทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ตับ ผักใบเขียว เครื่องใน หรือทานจากพืช หรือวิตามินบำรุง

  • เดินออกกำลังกายเบาๆ หรือ ออกกำลังกายบริเวณอุ้งเชิงกราน

  • เริ่มศึกษาความรู้เรื่องการให้นมแม่


ผ่านไปแล้ว 33 สัปดาห์ มาร่วมเดินทางไปสู่สัปดาห์ที่ 34 ไปด้วยกันนะคะ ขอให้คุณแม่และตัวเล็กมีสุขภาพที่แข็งแรงค่ะ


เขียนโดย


พญ. ทานตะวัน จอมขวัญใจ หมอหน่อย (Tantawan Jomkwanjai.MD)








ดู 9 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


Thanks for submitting!

  • YouTube
  • Facebook
  • LinkedIn

© 2020 created by Tantawan Prasopa.MD

bottom of page