สัปดาห์ที่ 34 ก้าวเข้าสู่สัปดาห์ที่ 34 แล้วนะคะคุณแม่ อีกประมาณ เดือนกว่าๆ จะได้เจอตัวเล็กแล้วนะคะ ตอนนี้เตรียมพร้อมถึงไหนบ้างแล้วค่ะ ในสัปดาห์นี้จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ไปติดตามกันค่ะ

Highlight
สัปดาห์นี้ตัวของลูกใหญ่ขึ้น ทำให้พื้นที่ในท้อง อาจค่อนข้างแคบในการขยับตัวค่ะ
เล็บมือของลูกยาวขึ้นจนถึงปลายนิ้วแล้วค่ะ
คุณแม่จะรู้สึกถึงการขยับตัวค่อนข้างชัด อาจเห็นมือ เท้าของลูกผ่านทางหน้าท้องก็ได้นะคะ
สัปดาห์นี้ลูกเป็นอย่างไร?
สัปดาห์นี้ลูกมีขนาดยาวประมาณ 17.8 นิ้ว หรือขนาดเท่าลูก สับประรด
ลูกอัณฑะของลูกเลื่อนลงมาที่ถุงอัณฑะ : สำหรับเด็กผู้ชาย ในสัปดาห์นี้เป็นต้นไป ลูกอัณฑะของลูก จะเลื่อนจากช่องท้องลงมาที่ถุงอัณฑะ อย่างไรก็ตาม พบว่า 1 ใน 4 ของเด็กชาย อาจจะยังไม่เลื่อนลงมา แต่จะเลื่อนลงมาสมบูณร์ในปีแรกหลังคลอดค่ะ
ขยับร่างกายลดลง : ตอนนี้ขนาดของลูกจะใหญ่ เมื่อเทียบกับพื้นที่ในมดลูก ปริมาณน้ำคล่ำ ไม่ได้มีการสร้างเพิ่มขึ้น ทำให้ไม่ได้ขยับบ่อย การนับลูกดิ้น จึงมีความสำคัญต่อการติดตามสุขภาพของลูกน้อยในช่วงไตรมาสที่ 3 นี้ค่ะ
อาจเห็นมือ เท้าลูกผ่านทางหน้าท้อง : จากขนาดตัวของลูกที่ใหญ่ขึ้น ถ้าผนังหน้าท้องของคุณแม่ไม่หนามาก คุณแม่อาจจะเห็นการเคลื่อนไหว หรืออาจเห็น มือหรือเท้าของลูกน้อยผ่านทางหน้าท้องได้เลยค่ะ
เล็บของลูกยาขึ้น: สัปดาห์นี้เล็บมือของลูกจะยาวจนถึงตรงปลายเล็บ และอาจยาวขึ้นในช่วงแรกคลอด อาจจะสามารถข่วนหน้าตัวเองได้ในช่วงหลังคลอดเลยค่ะ
อาการของคุณแม่ในสัปดาห์ที่ 34
รู้สึกอ่อนเพลียมากขึ้น
ตั้งแต่สัปดาห์นี้ คุณแม่อาจจะรู้สึกอ่อนเพลีย พอๆ กับช่วงไตรมาสที่ 1 เลยค่ะ จากการที่ต้องแบกน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น การนอนได้น้อย ทานทีละมากๆ ก็ไม่ได้ ทำให้อาจมีอาการอ่อนเพลียได้ง่าย ความสำคัญคือ คุณแม่ควรจะนอนพักผ่อนเยอะ อาจหาอาหารเสริมมาช่วงเพิ่มขึ้น และระวังเรื่องซีดค่ะ
ตาพร่ามัว
ในสัปดาห์นี้ คุณแม่อาจรู้สึกว่าตาแห้งตามัวได้ง่าย เนื่องจาก คุณแม่อาจจะมีการสร้างน้ำตาลดลง อาจแก้ปัญหาโดยการหยอดน้ำตาเทียม หากใส่ contact lens อยู่ อาจเปลี่ยนมาใส่แว่น เพื่อลดอาการระคายเคืองดวงตาที่เกิดขึ้นค่ะ
อาการท้องผูก
ในช่วงท้อง คุณแม่จะมีอาการท้องผูกได้ง่าย เนื่องจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรล ที่จะทำให้กล้ามเนื้อเรียบต่างๆ ทำงานช้าลง รวมทั้งระบบทางเดินอาหารด้วย คุณแม่หลายท่านจะมีอาการท้องผูกมากขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ หลายท่านอาจมีริดสีดวงได้
แนวทางในการป้องกัน คือ การทานไฟเบอร์ให้มาก ดื่มน้ำมากๆ พยายามขยับร่างกาย การทาน Prebiotics และ Probiotic สูง ก็สามารถช่วยให้อาการดีขึ้นได้
ขาและเท้าบวม
ในสัปดาห์นี้ อาจพบว่า ขาหรือข้อเท้าของคุณแม่อาจจะบวมมากขึ้น ทั้งจากปริมาณเลือดที่มากขึ้น และการไหลเวียนกลับของเลือดที่ไม่ดี จากการกดทับเลือดเลือดดำ แนะนำคุณแม่ให้มีการเคลื่อนที่บ่อยๆ เพื่อให้เลือดไหลเวียนกลับได้ดีขึ้น เลือกรองเท้าที่สวมใส่สบาย ไม่รัดเท้า ไม่สูงจนอาจเกิดอันตรายค่ะ
Tip สำหรับสัปดาห์นี้
วางแผนเรื่องการลาคลอด ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่ดี ที่คุณแม่จะตัดสินใจเรื่องหลังจากการคลอด ว่าหลังคลอดคุณแม่จะผันตัวเป็นคุณแม่ Fulltime หรือ จะลาคลอด 3-4 เดือน การวางแผนที่ดี จะดีทั้งต่อครอบครัวคุณแม่เอง รวมทั้งกับบรืษัทของคุณแม่ด้วยค่ะ
ในไตรมาส 3 คุณแม่ควรลดการทานโซเดียมเพื่อลดอาการบวม และโอกาสเกิดความดันสูง นอกจากนี้ยังควรเพิ่มอาหารที่มีแมกนีเซียมสูง เพื่อลดโอกาสเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ ซึ่งอาจพบได้ในช่วงสัปดาห์ที่ 36 เป็นต้นไปค่ะ
เตรียมของใช้ลูก ที่สำคัญที่สุดคือเลือก carseat ที่ปลอดภัย (อ่านเพิ่มเติมเรื่องการเลือก Car seat)
ยังควรเสริม ธาตุเหล็ก โคลีน แคลเซียม DHA อย่างต่อเนื่อง และ ทานโปรตีนให้เพียงพอค่ะ
ผ่านไปแล้ว 34 สัปดาห์ มาร่วมเดินทางไปสู่สัปดาห์ที่ 35 ไปด้วยกันนะคะ ขอให้คุณแม่และตัวเล็กมีสุขภาพที่แข็งแรงค่ะ
เขียนโดย
พญ. ทานตะวัน จอมขวัญใจ หมอหน่อย (Tantawan Jomkwanjai.MD)
Comentarios