สัปดาห์ที่ 36 ของการตั้งครรภ์ : 36 weeks pregnancy เกิดอะไรขึ้นบ้างในสัปดาห์ที่ 36
- drnoithefamily
- 14 เม.ย.
- ยาว 1 นาที
เข้าสู่สัปดาห์ที่ 36 หรือ เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์แล้วนะคะคุณแม่ คุณแม่เดินทางมาไกลมากๆ เลย หมอหน่อยจะร่วมเดินทางไปจนคุณแม่คลอดเลยนะคะ สัปดาห์นี้มีอะไรเกิดขึ้นบ้างไปติดตามกันค่ะ

Highlight
ตอนนี้โดยส่วนใหญ่ ลูกจะเริ่มกลับหัว เอาหัวลงอุ้งเชิงกรานแล้ว
ตอนนี้ลูกจะดูน่ารักเหมือนเด็กคนนึงเลยค่ะเพราะไขมันสะสมตามตัวเยอะเลย
การได้ยินของลูกค่อนข้างชัดเจนมาก แม้เสียไม่ดังมาก เค้าก็ได้ยินแล้วนะคะ
สัปดาห์นี้ลูกเป็นอย่างไร?
สัปดาห์นี้ลูกมีขนาดยาวประมาณ 18-19 นิ้ว หนักประมาณ 1,800 กรัม ขึ้นไป หรือขนาดเท่ามัดของผัก kale
ลูกเริ่มตั้งท่าสำหรับเตรียมคลอดแล้วค่ะ : ตอนนี้เด็กกว่า 95% กลับหัวลงอุ้งเชิงกรานของแม่เรียบร้อยนะคะ เค้าค่อนข้างพร้อมมากในการออกมา แต่ถ้าลูกคลอดในสัปดาห์นี้ เราจะเรียกว่า Late Preterm ซึ่งสุขภาพจะใกล้เคียงกับเด็กที่คลอดตอน 37 สัปดาห์ค่ะ
ปอดสร้างเกือบจะสมบูรณ์แล้ว : ตอนนี้ลูกสร้างสาร surfactant เกือบสมบูรณ์ 100% แล้ว พร้อมทำงานในช่วงหลังคลอดค่ะ หลังคลอดประมาณ 10 วินาที หลังจากการหายใจครั้งแรก อากาศที่ลูกหายใจเข้าไป จะไปแทนที่น้ำในถุงลม และพร้อมในการแลกเปลี่ยนก๊าซค่ะ
กระดูกสร้างความแข็งแรงมากขึ้น : กระดูกของลูกได้สะสมแคลเซียมและสร้างความแข็งแรงมากขึ้น แม้ว่าจะไม่ผู้ใหญ่ เพราะเค้าจะค่อยๆ ไปสร้างความแข็งแรงระหว่างการเติบโต ลูกจะเกิดพร้อมกระดูกทั้งหมด 275 ชิ้น แต่จะเหลือ 206 ชิ้นเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ เนื่องจากกระดูกหลายๆ อัน มีการเชื่อมกันเกิดขึ้น
อาการของคุณแม่ในสัปดาห์ที่ 36
ไปฝากครรภ์บ่อยขึ้น
เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ คุณหมออาจจะติดตามคุณแม่บ่อยขึ้น อาจบ่อยทุกๆ สัปดาห์ เพื่อตรวจสุขภาพของน้อง และติดตามสัญญาณคลอดของคุณแม่อย่างใกล้ชิด
รู้สึกหน่วงที่อุ้งเชิงกรานมากขึ้น จาก Baby drop
สัปดาห์นี้ลูกจะเริ่มเคลื่อนเข้าสู่อุ้งเชิงกรานของแม่มากขึ้น เราจะเรียกว่า Baby drop หรือ Lightening ทำให้คุณแม่อาจรู้สึกหน่วงมากขึ้น เดินยากขึ้น เหมือนการอุ้มลูกโบว์ลิ่งระหว่างขาตลอดเวลา แต่ก็มีข้อดีตรงนี้ คุณแม่อาจไม่รู้สึกอึดอัดที่หน้าอก หรือท้องเท่าเดิม เนื่องจากลูกมากดด้านล่างแทนด้านบน
ปวดอุ้งเชิงกราน
เดือนนี้คุณแม่จะมีอาการปวดอุ้งเชิงกรานบ่อย จากการที่ลูกกดที่อุ้งเชิงกราน ลูกมีขนาดตัวที่ใหญ่ขึ้น Ligament ที่อุ้งเชิงกรานมีการหย่อนและคลายตัว ทำให้ไม่ stable และเกิดอาการปวดได้ง่าย
Tip สำหรับสัปดาห์นี้
เสริมคอลลาเจนและโปรตีนมากขึ้น เนื่องจากทั้งหน้าท้อง อุ้งเชิงกรานของคุณแม่ต้องใช้ โปรตีนและคอลลาเจนมากขึ้นกว่าคนทั่วไป
ควรเริ่มเตรียมกระเป๋าสำหรับไปโรงพยาบาลไว้ให้พร้อม หากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น
เตรียมหาหมอเด็กที่คุณพ่อคุณแม่ไว้ใจ เพื่อดูแลลูกน้อยในช่วงหลังคลอดค่ะ
ศึกษาอาการ หรือสัญญาณเตือนคลอด เช่น มูกเลือด น้ำเดิน หรืออาการเจ็บคลอดเพิ่มเติม เพื่อสังเกตุอาการของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ
ทานอาการเสริมสำหรับคุณแม่ต่อเนื่อง
บำรุงน้ำนมเตรียมพร้อม เพื่อให้น้ำนมมาดีในช่วงหลังคลอด
นับลูกดิ้นอย่างสม่ำเสมอ เพื่อติดตามสุขภาพของลูกน้อย
ผ่านไปแล้ว 36 สัปดาห์ มาร่วมเดินทางไปสู่สัปดาห์ที่ 37 ไปด้วยกันนะคะ ขอให้คุณแม่และตัวเล็กมีสุขภาพที่แข็งแรงค่ะ
เขียนโดย
พญ. ทานตะวัน จอมขวัญใจ หมอหน่อย (Tantawan Jomkwanjai.MD)
コメント