ในสัปดาห์ที่ 4 เป็นสัปดาห์ที่มักอยู่ในความทรงจำของคุณพ่อคุณแม่นะคะ เพราะจะเป็นสัปดาห์ที่อาจจะตรวจเจอว่าตั้งครรภ์ค่ะ สัปดาห์นี้ ลูกก็ได้เริ่มแบ่งชั้นของร่างกาย มีการสร้างรกและน้ำคล่ำ และคุณแม่จะเริ่มมีอาการที่บ่งบอกถึงการตั้งครรภ์ได้ค่ะ
Highlight
สัปดาห์นี้ตัวอ่อนจะเริ่ม ฟอร์มรูปร่างเป็น 2 ชั้น มี น้ำคล่ำหุ้มปกป้องส่วนที่จะพัฒนาไปเป็นทารก
สัปดาห์นี้จะตรวจเจอฮอร์โมน HCG ในแผ่นตรวจการตั้งครรภ์ แต่หากทำ Ultrasound อาจไม่พบอะไรชัดเจน ซึ่งจะไปตรวจพบในช่วงสัปดาห์ที่ 6-8
ตัวอ่อนจะเริ่มสร้างถุงไข่แดง หรือ yolk sac ซึ่งจะช่วยเลี้ยงดูตัวอ่อน ในช่วงที่รกยังทำงานไม่เต็มที่
การเดินทางของลูกน้อยในสัปดาห์ที่ 4
ตอนนี้ลูกยังมีขนาดเล็กมากๆ ขนาดแค่ประมาณ 1 มิลลิเมตร ตอนนี้ลูกได้ฝังตัวกับผนังมดลูกของแม่ด้วยความแข็งแรงระดับหนึ่ง และจะแบ่งตัวออกเป็น 2 ส่วน ส่วรแรกจะเจริญไปเป็นลูกน้อย อีกส่วนนึงจะพัฒนาไปเป็นรก ที่จะคอยให้สารอาหารเลี้ยงดูลูกน้อยไปตลอดการตั้งครรภ์ ในช่องว่างจากการแบ่งจะมีน้ำคล่ำที่คอยปกป้องลูกน้อย
ตัวอ่อนจะเริ่มแบ่งเซลล์ออกเป็น 3 ชั้น เพื่อพัฒนาไปเป็นอวัยวะต่างๆ ของลูก
Endoderm : พัฒนาไปเป็ร ระบบทางเดินอาหาร ปอด ตับ
Mesoderm : พัฒนาไปเป็นหัวใจ ระบบสืบพันธ์ กระดูก ไต กล้ามเนื้อ
Ectoderm : พัฒนาไปเป็น ระบบประสาท สมอง ผม ตา ผิวหนัง
อาการของคุณแม่
ในสัปดาห์นี้ คุณแม่อาจมีหรือไม่มีอาการก็ได้นะคะ บางท่านอาจมีอาการคล้ายอาการก่อนมีประจำเดือน เช่น อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย หงุดหงิด ท้องอืด Cramping อย่างไรก็ตาม ไม่มีอะไรที่ยืนยันการตั้งครรภ์ได้ดีเท่า การตรวจแผ่นตรวจตั้งครรภ์ค่ะ
แผ่นตรวจตั้งครรภ์ positive "แสดงความยินดีกับคุณแม่ด้วยนะคะ"
ฮอร์โมนตั้งครรภ์
ฮอร์โมนตั้งครรภ์ (Pregnancy hormone) หลังจากที่ตัวอ่อนได้รับการปฏิสนธิ ประมาณ 6-12 วัน ตัวอ่อนจะเริ่มหลังสาร hCG หรือ human chorionic gonadotropin ฮอร์โมน hCG จะกระตุ้นให้ Corpus luteum สร้าง estogen และ progesterone ช่วยให้การตั้งครรภ์ดำเนินต่อเนื่องในช่วง 4-8 สัปดาห์แรก ก่อนที่ รก จะเข้ามาทำหน้าที่แทน ดังนั้น Hormone นี้จะสูงในช่วงแรก และค่อยๆ ลดลงค่ะ
?แล้วถ้าแผ่นตรวจตั้งครรภ์ขึ้นจางๆ ล่ะ
ในกรณีที่แผ่น HCG ขึ้นจางๆ อย่างนั้นต้องมีการปฏิสนธิ หรือเริ่มฝังตัว แนะนำให้มีการตรวจซ้ำ 2-3 วันหลังจากนั้น หากเข้มขึ้นแสดงว่ามีการตั้งครรภ์ แต่ถ้าตรวจไม่พบแล้วประจำเดือนมา นั้นแสดงว่า ตัวอ่อนอาจจะฝังตัวไม่สำเร็จ หรือที่เราเรียกว่า Chemical pregnancy
สิ่งสำคัญที่ควรทราบอีก 1 อย่างคือ ควรแปลผลใน 10-15 นาทีเท่านั้น เนื่องจากว่า หากปล่อยทิ้งไว้มีโอกาสที่ แผ่นตรวจตั้งครรภ์จะขึ้น 2 ขีดลวงได้
Tips สำหรับสัปดาห์นี้
วิตามินบำรุงครรภ์ (Prenatal Vitamins) วิตามินบำรุงครรภ์ เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก ที่จะสามารถช่วยให้การตั้งครรภ์ดำเนินไปได้อย่างราบรื่น สารอาการจำเป็นเช่น โฟเลต ธาตุเหล็ก วิตามินดี แคลเซียม โคลีน วิตามินบีรวม สังกะสี หรือ DHA แนะนำให้คุณแม่ทานวิตามินเสริม ร่วมการบำรุงด้วย Love protein ค่ะ (ปรึกษาเรื่องวิตามินบำรุงได้ทาง Line: admin หมอหน่อยค่ะ)
วางแผนการฝากครรภ์ จริงๆ คุณแม่สามารถไปฝากครรภ์ในช่วง 6-8 สัปดาห์ได้ค่ะ เนื่องจาก เป็นช่วงที่คุณหมอจะสามารถ ultrasound ได้รายละเอียดมากขึ้นกว่าในช่วง 4 สัปดาห์นี้ อย่างไรก็ตาม คุณแม่ที่เคยมีปัญหาแท้งมาก่อน หรือแท้งมาหลายรอบ อาจสามารถไปตรวจได้เร็วกว่า 6 สัปดาห์ได้ค่ะ การเลือกโรงพยาบาลในการฝากครรภ์ แนะนำเลือกโรงพยาบาลที่เดินทางไปได้สะดวก และมีแพทย์ที่คุณแม่ไว้ใจ สามารถปรึกษาเรื่องต่างๆ ได้ค่ะ
ควรรีบประกาศใน social media หรือไม่? จริงๆ แล้วขึ้นกับครอบครัวแต่ละครอบครัวเลยนะคะ อย่างไรก็ตาม โอกาสแท้งในไตรมาสแรกยังมี % ที่สูงกว่าไตรมาสอื่นๆ ดังนั้นหลายๆ บ้านอาจเลือกที่จะประกาสหลังผ่าน 3 เดือน หรือหลัง 12 สัปดาห์ เนื่องจากโอกาสท้องจะลดลงมากค่ะ
ผ่านสัปดาห์ที่ 4 ไปแล้ว เดี๋ยวคุณแม่ไปติดตามกันต่อได้ในสัปดาห์ 5 นะคะ การเดินทางของคุณแม่จะไม่เหงาอีกต่อไปค่ะ
เขียนโดย
พญ.ทานตะวัน จอมขวัญใจ, หมอหน่อย (Tantawan Jomkwanjai.MD
สินค้าแนะนำ
Comments