เนื่องจากการวัดอุณหภูมิกายขณะพัก หรือ Basal Body Temperature (BBT) เป็นวิธีการที่ดีอย่างหนึ่งที่จะทำให้เราสามารถ Pinpoint วันไข่ของเราได้ แต่ต้องตรวจให้ถูกวิธีและถูกต้อง สม่ำเสมอ แล้ว Basal body temperature หรืออุณหภูมิกายขณะพักมีเทคนิคการตรวจอย่างไร? แล้วมีปัจจัยไหนบ้างที่อาจทำให้ค่า BBT เปลี่ยนแปลงไป วันนี้ไปติดตามอ่านกันค่ะ
ช่วงหลังไข่ตกฮอร์โมน Progesterone จะสูงขึ้น ส่งผลให้อุณหภมิกายขณะพักสูงขึ้น โดยหลังไข่ตก Basal body temperature จะสูงขึ้น 0.3 - 0.6 องศาเซลเซียส หรือ 0.5-1 องศาฟาเรนไฮต์ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และมักจะถูกรบกวนได้ง่าย ดังนั้นเทคนิคในการตรวจวัด Basal body temperature คือ
ใช้ Thermometer ที่มีความละเอียดสูง แบบ Digital โดยควรมีความละเอียดที่ 0.10 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 0.01 องศาเซลเซียส และควรใช้ปรอทเดียวกันวัดทุกครั้ง
วาง Themometer ไว้ใกล้เตียงให้มากที่สุด เพื่อที่จะได้หยิบง่าย ลดการออกแรง
วัดอุณหูมิกายเป็นสิ่งแรกหลังตื่นนอน ก่อนการทำกิจกรรมทั้งหมด ไม่ควรขยับตัวไปไหน เพราะการทำกิจกรรมอาจทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นได้
วัดเวลาเดียวกันทุกวัน เนื่องจากเวลาที่แตกต่างกัน อาจส่งผลต่ออุณหภูมิที่แตกต่างกันได้
วัดบริเวณเดียวกัน เช่น ใต้ลิ้น ทางช่องคลอด หรือทางก้น เนื่องจากอุณหภูมิแต่ละพื้นที่ มีความแตกต่างกัน ไม่ควรวัดบริเวณรักแร้ หรือหน้าผาก เพราะถูกรบกวนด้วยอุณหภูมิภายนอกได้ง่าย
วัดหลังจากที่ได้นอนอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลา อย่างน้อย 3 ชั่วโมง
ถ้ามีปัจจัยที่อาจส่งผลต่ออุณหภูมิ เช่น นอนน้อย นอนดึก เจ็บป่วย เดินทาง หรือดื่มแอลกอฮอล์ ให้จดไว้ เนื่องจากมีความสำคัญในการนำมาแปลผล
จดบันทึกอุณหภูมิที่วัดได้ทันที รวมถึงเวลาที่วัด เพื่อช่วยในการแปลผล
ทำอย่างต่อเนื่องเป็นกิจวัตร
โดยเมื่อได้ค่าอุณหภูมิกายขณะพักแล้ว (Basal Body Temperature) ให้จดบันทึกไว้ใน Application หรือ แผ่นกราฟ เพื่อจะได้ติดตามวันไข่ตกของเราได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
“Basal Body Temperature เป็นตัวช่วยในการยืนยันวันไข่ตกที่ดีมาก หากเราเข้าใจหน้าที่ และเทคนิคการวัดที่ถูกต้องค่ะ”
อย่างไรก็ตามมีปัจจัยหลายอย่างที่อาจส่งผลให้อุณหภูมิกายเปลี่ยนแปลงไป และอาจทำให้การแปลผลยากขึ้นกว่าเดิม หากมีปัจจัยเหล่านี้ ให้บันทึกไว้ทุกครั้งเพื่อให้ง่ายต่อการแปลผลโดยรวม
ปัจจัยที่มีผลต่อ Basal body temperature
อาการไข้ หรือ เจ็บป่วย ไม่สบาย
ยาบางชนิด
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การสูบบุหรี่
ความเครียดทางร่างกาย หรือ จิตใจ
การนอนที่ผิดปกติ เช่น นอนน้อย นอนไม่หลับ ละเมอเดิน
การเดินทางเปลี่ยนประเภท หรืออาการ Jet lag
เปลี่ยนแปลงอุณหภูมิห้องที่นอน
อากาศเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว
เปลี่ยนแปลงการใช้ฮอร์โมน เช่นเพิ่งหยุดยาคุมกำเนิด เป็นต้น
อย่างไรก็ตามการวัด Basal body temperature จะไม่ค่อยเหมาะกับ คนที่ต้องทำงานเป็นกะ หรือคนที่ต้องเดินทางเปลี่ยนประเทศบ่อย เนื่องจากเวลานอนเปลี่ยนแปลงบ่อย ทำให้การแปลผลทำได้ลำบาก การติดตาม Basal Body Temperature ต้องทำต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอถึงจะสามารถติดตามรอบเดือนของเราได้ถูกต้อง หากเพื่อนๆคนไหน สนใจอย่างจะลองวัดดูสามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่วันแรกที่มีประจำเดือน แล้วทำไปเรื่อยๆ 2-3 เดือนเพื่อให้ทราบ Pattern ของวันไข่ตกของเรา เพื่อช่วยในการวางแผนมีลูกค่ะ อ่านประโยชน์ของการวัด Basal Body Temperature ได้ที่บทความเรื่อง “เข้าใจอุณหภูมิกายขณะพัก” เพื่อทำความเข้าใจเพิ่มเติมค่ะ
Tantawan Prasopa. MD (พญ. ทานตะวัน พระโสภา) drnoithefamily
#drnoithefamily #BBT #fertility #ovulation #basalbodytemperature #อุณหภูมิกายขณะพัก #วันไข่ตก #อยากมีลูก #เทคนิคมีลูกง่าย #เตรียมตัวท้อง #เตรียมพร้อมตั้งครรภ์ #ความรู้สุขภาพ
ความคิดเห็น