ในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ ความสำคัญคือคุณแม่มีเจ้าตัวเล็กอยู่ในท้อง และภูมิคุ้มกันของคุณแม่จะลดลงกว่าปกติ ทำให้คุณแม่มีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ง่าย อาหารและเครื่องดื่มบางอย่างจึงอาจไม่ปลอดภัยในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ และควรหลีกเลี่ยงในช่วงนี้ค่ะ 10 อาหารที่คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงช่วงที่ตั้งครรภ์ มีอะไรบ้าง ไปติดตามกันในบทความนี้กันค่ะ
1.ไข่ดิบ หรือไข่ที่ไม่สุก
ในไข่ดิบหรือไข่ที่ยังไม่สุกดีจะมีเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า Salmonella ซึ่งอาจส่งผลให้คุณแม่ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ติดเชื้อได้ง่าย หากคิดเชื้อ Salmonella อาจมีไข้ อาเจียน ปวดท้อง หรือท้องเสีย ในคนที่เป็นมากๆ อาจส่งผลให้ลูกคลอดก่อนกำหนด หรือเสียชีวิตในครรภ์ได้ ไข่ที่ยังไม่สุกดีและควรหลีกเลี่ยงเช่น
scrambled eggs
poached eggs
hollandaise sauce เป็นต้น
ดังนั้นในช่วงที่คุณแม่ท้องอยู่ แนะนำให้ทานไข่ที่สุกดีแล้วเท่านั้น เช่นไข่ต้ม ไข่ดาวสุก ไข่เจียวสุก เป็นต้น เพื่อความปลอดภัยในช่วงตั้งครรภ์ค่ะ
2. เนื้อดิบ หรือ เนื้อที่ยังไม่สุกดี
ในเนื้อดิบ หรือเนื้อที่ยังไม่สุก มีแบคทีเรียและ parasites ที่อาจทำให้คุณแม่ติดเชื้อได้ง่ายในช่วงตั้งครรภ์เช่น Toxoplasma, E. coli, Listeria, and Salmonella. เชื้อโรคเหล่านี้อาจส่งผลร้ายแรงต่อทารกในครรภ์ และตัวคุณแม่เอง อาจทำให้ทารกในครรภ์มีความพิการ คลอดก่อนกำหนด หรือเสียชีวิตได้
บรรดาแบคทีเรียเหล่านี้อาจอยู่ที่ผิวของเนื้อ แทรกตามกล้ามเนื้อ หรืออยู่ทุกส่วนของเนื้อก็ได้ ดังนั้นในช่วงที่ท้อง คุณแม่ควรมั่นใจก่อนว่า อาหารที่ทำจากเนื้อนั้น ทำสุกอย่างทั่วถึงทุกส่วนจริงๆ ค่ะ
3. Sushi หรือ ปลาดิบ
ในช่วงท้องควรหลีกเลี่ยงชูชิที่ทำจากปลาดิบ หรืออาหารทะเลอื่นๆ ที่ยังไม่สุกดี เนื่องจากปลาดิบ หรือยังไม่สุกดีนี้อาจมีแบคทีเรีย Listeria ที่อาจทำให้ติดเชื้อหรือ listeriosis ทั้งยังอาจมี Vibrio, Salmonella ซึ่งอาจเกิดอันตรายรุนแรงในแม่ และอาจทำให้ทารกคลอดก่อนกำหนดหรือเสียชีวิตได้
อย่างไรก็ตาม แม่ยังสามารถทานชูชิรูปแบบอื่นเช่น ชูชิกุ้งที่สุกดีแล้ว หรือ ชูชิที่ทำจากผัก เป็นต้น เอาไว้ตัวเล็กคลอดแล้ว คุณแม่ค่อยกลับไปมีความสุขกับเหล่าปลาดิบใหม่นะคะ
4. อาหารทะเลดิบหรือหอยนางรมดิบ
เช่นเดียวกัน ในอาหารทะเลดิบหรือหอยดิบ หรือไม่สุกดี จะมีแบคทีเรีย Listeria ที่อาจทำให้เกิด Listeriosis อาจส่งผลให้เด็กพิการ คลอดก่อนกำหนด และเสียชีวิตในครรภ์ได้ ดังนั้น ในช่วงที่ตั้งครรภ์นี้ แนะนำให้แม่ๆ หลีกเลี่ยงอาหารทะเลดิบ โดยการปรุงให้สุกดีก่อนทานเสมอค่ะ
5. นมที่ไม่ผ่านการพลาสเจอไรส์ (Unpasteurized milk)
ในนมดิบที่ไม่ผ่านกระบวนการพลาสเจอไรส์ อาจมีแบคทีเรียหลายชนิดที่ก่อให้เกิดโรคเช่น Listeria, Salmonella, E. coli และ Campylobacter ซึ่งแน่นอนว่าแบคทีเรียเหล่านี้จะก่อให้เกิดการติดเชื้อ และเกิดอันตรายกับทารกในครรภ์เป็นอย่างมาก
ด้งนั้น ควรเลือกผลิตภัณฑ์จากนมที่ผ่านกระบวนการพลาสเจอไรส์มาเรียบร้อยแล้ว เพื่อให้มั่นใจว่านมที่ดื่มไม่มีแบคทีเรียที่อาจเกิดอันตรายกับคุณแม่และลูกน้อยค่ะ
6. อาหาร Junk food
ในช่วงที่คุณแม่ท้องอยู่ ควรได้รับอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และทานให้ครบ 5 หมู่ เน้น โปรตีน โคลีน โฟเลต ธาตุเหล็ก วิตามินดี และแคลเซียม ดังนั้น คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงอาหาร Junk food ที่มีส่วนประกอบของ Trans fat และไขมันที่ไม่ดีเป็นจำนวนมาก อาจส่งผลให้น้ำหนักเกิน หรืออาจเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และส่งผลแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ตามมา รวมถึงอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวของลูกน้อยของคุณแม่ด้วย
ในช่วงตั้งครรภ์นี้ แม่ว่าคุณแม่จะมีลูกน้อยอีกคนอยู่ในท้อง แต่อาหารที่แม่ทานในแต่ละวัน จะสามารถบอกสุขภาพของคุณแม่ และลูกน้อยที่อยู่ในท้องของคุณแม่ได้ ดังนั้นเลือกทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์ค่ะ
7. ผักผลไม้ที่ไม่ได้ล้าง (Unwashed products)
ในผักหรือผลไม้ที่ยังไม่ผ่านการล้างทำความสะอาดอาจมีเชื้อโรคที่อาจเป็นอันตรายหลายชนิดเช่น Toxoplasma, E. coli, Salmonella และ Listeria ซึ่งเชื้อโรคเหล่านี้ ส่งผลเสียต่อคุณแม่ และทารกในครรภ์ อาจทำให้เกิดการพิการ คลอดก่อนกำหนด หรือเสียชีวิตได้
ดังนั้น ในช่วงท้อง ควรล้างทำความสะอาดผักและผลไม้ให้ดี ปลอกเปลือกก่อนทาน หรือทำให้สุกก่อนทาน จะช่วยลดโอกาสสัมผัสกับแบคทีเรียเหล่านี้ได้ค่ะ
8. อาหารทะเลที่มีสารปรอทสูงๆ (High mercury fish)
อาหารทะเลที่มีสารปรอทสูงๆ จะเจอในสัตว์ทะเลใหญ่ๆ ที่เป็นหลายห่วงโซ่อาหาร ซึ่งสารปรอทเหล่านี้ส่งผลเสียต่อระบบประสาทและสมองของแม่ และที่สำคัญคือส่งผลต่อการสร้างระบบประสาทและสมองของทารก แม้ว่าจะมีปริมาณที่น้อยมากๆ ก็ตาม อาหารทะเลที่มีสารปรอทสูงเช่น
ปลาฉลาม (Shark)
ปลากระโทงดาบ (Swordfish)
ปลาอินทรีย์ (King mackerel)
ปลาทูน่า โดยเฉพาะปลาทูน่าครีบเหลือง (Tuna, especially bigeye tuna)
อย่างไรก็ตามในช่วงท้องควรทานอาหารทะเลที่มีสารปรอทต่ำ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง เนื่องจากมีไขมันดีและ Omega-3 สูง เช่น ปลาแซลมอล ซาดีน หรือ ปลาแอนโชวี่ เป็นต้น
9. คาเฟอีนที่มากเกินไป
การดื่มกาแฟที่มากเกินไป หรือการบริโภคคาเฟอีนที่มากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อลูกน้อยในท้องได้ เนื่องจากลูกน้อยยัง เนื่องจากทารกยังไม่สามารถที่จะเผาผลาญคาเฟอีนได้ ปริมาณคาเฟอีนที่มากเกินไปอาจทำให้ทารกโตช้า หรือน้ำหนักน้อยได้
ปริมาณคาเฟอีนที่แนะนำต่อวันคือไม่เกิน 200 มิลลิกรัม หรือประมาณกาแฟ 1 แก้วต่อวันนั้นเอง (อ่านเพิ่มเรื่องคาเฟอีน 200 มิลลิกรัมคือเท่าไหร่?)
10. แอลกอฮอร์
การดื่มแอลกอฮอร์ช่วงที่ตั้งครรภ์ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการแท้ง หรือ ทารกเสียชีวิตในครรภ์ แม้ปริมาณเล็กน้อย อาจทำส่งผลต่อการสร้างสมองของทารกได้ แม่ที่ดื่มแอลกอฮอร์ต่อเนื่องช่วงตั้งครรภ์อาจทำให้เกิด fetal alcohol syndrome ซึ่งอาจทำให้ใบหน้าของลูกผิดปกติ การสร้างหัวใจผิดปกติ และมีผลต่อสติปัญญาของทารกได้
เนื่องจากไม่มีระดับแอลกอฮอร์ที่ปลอดภัยในช่วงตั้งครรภ์ จึงแนะนำให้คนท้องทุกคน หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอร์โดยเด็ดขาดตลอดการตั้งครรภ์ค่ะ
ในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์อาหารหลายๆ ชนิดอาจส่งผลเสียต่อคุณแม่โดยที่ไม่รู้ตัว ดังนั้นควรใส่ใจกับอาหารที่ทานในทุกๆ มื้อมากขึ้นนะคะ อย่างไรก็ตาม ข่าวดีคือ คุณแม่ยังทานอาหารหลายๆ ชนิดได้มากกว่าที่ไม่สามารถทานได้ ดังนั้น มีความสุขกับทุกวันของการตั้งครรภ์ เลือกอาหารที่ดีและมีประโยชย์ต่อคุณแม่และลูก เท่านั้นก็เพียงพอแล้วค่ะ
แล้วมาติดตามกันได้ใหม่ในบทความหน้านะคะ
วิตามินบำรุงครรภ์ : https://www.drnoithefamily.com/product-page/prenatal-vitamins
เขียนโดย
พญ. ทานตะวัน จอมขวัญใจ หมอหน่อย (Tantawan Jomkwanjai.MD) drnoithefamily
Comentários