หลังไข่ตกประมาณ 7-10 วัน หลังปฎิสนธิจะเป็นช่วงที่ตัวอ่อนกำลังฝังตัว หรือเป็น 2 สัปดาห์ที่เรารอคอย (Two weeks wait) ว่าตัวอ่อนจะปฎิสนธิและฝังตัวสำเร็จหรือไม่? หลายๆ คนก็คงอยากจะทราบว่า เราจะสามารถทำอะไรเพื่อเพิ่มโอกาสการฝังตัวของตัวอ่อน หรือบำรุงมดลูก บำรุงผนังมดลูก ให้เหมาะกับการฝังตัวของตัวอ่อนได้บ้าง วันนี้หน่อยมีความรู้ดีๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ที่ทุกคนไม่ควรพลาดค่ะ ไปติดตามกันได้เลยค่ะ
ถ้าคุณกำลังสงสัยว่า มีอะไรที่คุณสามารถทำได้บ้าง เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสในการฝังตัวของตัวอ่อนได้บ้าง คำตอบคือ ไม่มีข้อพิสูจน์ชัดเจนว่าอะไรสามารถเพิ่มโอกาสการฝังตัวได้จริง ซึ่งช่วงระยะที่ตัวอ่อนกำลังจะฝังตัวอยู่ในช่วง Luteal phase ซึ่งเป็นช่วงที่ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรล (Progesterone) ทำงานเป็นหลัก โดยฮอร์โมนทั้งสองชนิดนี้จะทำหน้าที่ในการเตรียมผนังมดลูกให้พร้อมต่อการฝังตัวของตัวอ่อน โดยขนาดผนังมดลูกที่เหมาะสมคือ 8-14 มิลลิเมตร หากต้องการให้ขนาดของมดลูกเหมาะสม ต้องเริ่มต้นจากการทำงานของฮอร์โมนที่เหมาะสมซึ่งต้องอาศัยการดูแลสุขภาพ และการบำรุงที่เหมาะสมตั้งแต่ช่วงก่อนหน้านี้
ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรล (Progesterone) ทำหน้าที่สำคัญในการสร้างผนังมดลูกให้เหมาะกับการฝังตัวของตัวอ่อน โดยเมื่ออายุมากขึ้น ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน และ โปรเจสเตอโรล ก็ลดลง ทำเกิดปัญหาในช่วงการฝังตัวของตัวอ่อนได้
5 วิธีที่อาจสามารถเพิ่มคุณภาพของการทำงานของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรลได้คือ
อาหารที่ช่วยในการทำงานของฮอร์โมนเพศ
หลีกเลี่ยงสิ่งที่อาจรบกวนการทำงานของฮอร์โมนเพศ
ลดความเครียด
ลดมวลไขมันในร่างกาย
วิตามินบำรุง
1. อาหารที่มีส่วนช่วยในการทำงานของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรล(Progesterone)
อาหารที่มีแมกนีเซี่ยมสูง (Magnesium-Rich Foods) แมกนีเซี่ยมมีความสำคัญต่อการทำงานของระบบต่างๆของร่างกาย รวมถึงระบบสืบพันธุ์ แมกนีเซี่ยมยังช่วยในการดูดซึมของแคลเซี่ยมและวิตามินดีอีกด้วย โดยร่างกายต้องการแมกนีเซี่ยมประมาณ 320 มิลลิกรัมต่อวัน โดยอาการที่มีแมกนีเซี่ยมสูงเช่น ดาร์กช็อคโกเลต อัลมอลด์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ อโวคาโด้ เป็นต้น
อาหารที่มีวิตามินบี 6 (Vitamin B6 Foods) วิตามินบี 6 มีความสำคัญในการทำงานของฮอร์โมนเพศ โดยพบว่าการทานวิตามินบี 6 อย่างสม่ำเสมอช่วยเพิ่มระดับโปรเจสเตอโรลและเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ได้มากขึ้นอีกด้วย โดยอาหารที่มีวิตามินบีสูงเช่น ปลาแซลมอล ไข่ นม แครอท
อาหารที่มีสังกะสีสูง (Zinc-Rich Foods) Zinc มีความสำคัญมากต่อการทำงานของฮอร์โมนเพศ ไม่ว่าจะเป็น FSH, LH, Estrogen หรือ Progesterone พบว่ามากกว่า 75% ของประชากรขาด Zinc โดยไม่รู้ตัว ดังนั้นการเพิ่มอาหารที่มี Zinc อยู่ รวมถึงการทานวิตามินที่มี Zinc จึงมีความสำคัญในการเพิ่มการทำงานของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรลด้วย อาหารที่มี Zinc สูงเช่น อาหารทะเล เมล็ดถั่ว ขนมปัง whole grain เป็นต้น
อาหารที่มีโอเมก้า 3 สูง(Omega-3 rich food) เช่น ปลาแซลมอล ปลาทูน่า ปลาทู เนื่องจากโอเมก้า 3 มีความสำคัญต่อการทำงานของฮอร์โมนเพศโดยรวม ทำให้ฮอร์โมนสมดุล
นอกจากนี้อาหารที่มี วิตามินอี วิตามินซี จะช่วยให้เส้นเลือดไปเลี้ยงบริเวณมดลูกมากขึ้น เพิ่มโอกาสให้ผนังมดลูกพร้อมต่อการฝังตัวของตัวอ่อนมากขึ้นอีกด้วย
2. หลีกเลี่ยงสิ่งที่อาจรบกวนการทำงานของฮอร์โมนเพศ
ในปัจจุบันสิ่งแวดล้อมของเรามีสารที่มารบกวนการทำงานของฮอร์โมนเพศของเราอยู่หลายอย่าง สารที่มารบกวนฮอร์โมนที่เราพบได้บ่อยคือ Xenoestrogen หรือเอสโตรเจนเทียมที่มาจากนอกร่างกาย การรับเอา Xenoestrogen เข้าไปในร่างกายมากๆ ส่งผลทำให่การทำงานของฮอร์โมนอื่นๆในร่างกายผิดปกติ รวมถึงฮอร์โมนโปรเจสเตอโรลด้วย อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงได้แก่
เลี่ยงอาหารที่ผ่านกระบวนการทางอุตสาหกรรม (Processed Foods) รวมถึงสัตว์ที่ใช้สารเคมีในการเลี้ยงเช่น เนื้อ หมู ไก่
เลี่ยงการทานอาหารหรือเครื่องดื่มจากขวดพลาสติก เนื่องจากมี BPA ที่มีผลต่อร่างกาย (อ่านเรื่อง BPA)
เลี่ยงการทานอาหารกระป๋อง เนื่องจากอาจได้รับสาร BPA ที่มีผลต่อร่างกาย
เลี่ยงการให้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของ Phthalate ซึ่งมีผลต่อร่างกาย
3. ลดความเครียด (Reduce the amount of stress in your life)
ความเครียดเป็นสาเหตุสำคัญสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรลลดลง เนื่องมากจากว่า เมื่อร่างกายอยู่ในภาวะเครียด ต่อมหมวกไตจะหลังฮอร์โมนเครียด (Cortisol) มากขึ้น ซึ่งสารตั้งต้นของการสร้างคอร์ติซอลเป็นตัวเดียวกับโปรเจสเตอโรล ทำให้การสร้างโปรเจสเตอโรลลดลง นอกจากนี้ เมื่อเกิดภาวะเครียด ร่างกายจะให้ความสำคัญต่อความเครียดเป็นหลัก ทำให้งานทำงานของฮอร์โมนเพศลดลง การลดความเครียดจึงมีความสำคัญต่อการเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรล การลดความเครียดสามารถทำได้หลายวิธีเช่น การนั่งสมาธิ การออกกำลังกาย การไปเที่ยวธรรมชาติ ขึ้นอยู่กับว่าวิธีไหนเป็นวิธีที่เหมาะกับคุณค่ะ (อ่านเรื่องความเครียดกับการมีลูก)
4. ลดน้ำหนักและลดไขมันส่วนเกิน (Reduce your level of body fat)
หากใครที่มีน้ำหนักเกินหรือมีไขมันส่วนเกินเช่นไขมันหน้าท้อง อาจต้องวางแผนเพื่อลดน้ำหนักได้แล้วนะคะ โดยน้ำหนักที่เหมาะสมคือ BMI 20-24 สาเหตุที่น้ำหนักและไขมันส่วนเกินมีผลต่อระดับโปรเจสเตอโรล คือ ไขมันส่วนเกินสามารถสร้างเอสโตรเจนเพิ่มในร่างกายได้ เมื่อเอสโตรเจนถูกสร้างเพิ่มมากเกินความต้องการ แต่โปรเจนเตอโรลไม่ได้มากขึ้น ทำให้อัตราระหว่าง เอสโตรเจน/โปรเจสเตอโรล ไม่เหมาะสม การทำงานต่างๆเลยผิดปกติไป ดังนั้นการสดไขมันส่วนเกินและลดน้ำหนัก จะทำให้การทำงานของฮอร์โมนต่างๆกลับมาปกติมากขึ้น
5. วิตามินบำรุง
การกินวิตามินบำรุง สามารถช่วยเสริมวิตามินที่จำเป็นต่อการทำงานของฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรล โดยวิตามินที่ความสำคัญในช่วยการฝังตัวของตัวอ่อน เช่น วิตามินดี โอเมก้า3 Zinc ช่วยส่งเสริมให้การทำงานต่างๆของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับการฝังตัวของตัวอ่อนดีขึ้น แนะนำให้ทานวิตามินบำรุงตั้งแต่เริ่มต้นวางแผนตั้งครรภ์ โดยแนะนำให้เลือกวิตามินบำรุงก่อนและระหว่างตั้งครรภ์
อย่างไรก็ตาม การเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ได้สำเร็จต้องเริ่มทำตั้งแต่ช่วงก่อนหน้านี้ป็นเวลา 2-3 เดือน เนื่องจากการปรับสมดุลของฮอร์โมนต้องใช้เวลา และที่สำคัญ ไข่และสเปิร์ม ต้องแข็งแรง เพื่อให้ได้ตัวอ่อนที่แข็งแรง เพราะถ้าตัวอ่อนไม่แข็งแรง ต่อให้ผนังมดลูกของเราเหมาะสมแค่ไหน โอกาสล้มเหลวก็มีมากกว่าค่ะ แล้วมาติดตามเรื่องราวที่น่าสนใจใหม่ในตอนหน้านะคะ
Tantawan Prasopa. MD (พญ. ทานตะวัน พระโสภา) drnoithefamily
#ตัวอ่อนฝังตัว #บำรุงผนังมดลูก #เพิ่มโอกาสตัวอ่อนฝังตัว #เทคนิคมีลูกง่าย #อยากมีลูก #วางแผนมีลูก #วางแผนก่อนท้อง #เตรียมตัวท้อง #เตรียมพร้อมตั้งครรภ์
Comments