top of page
รูปภาพนักเขียนdrnoithefamily

ธาตุเหล็ก กับ ลูกน้อย ธาตุเหล็กสำคัญอย่างไร? ควรได้รับเท่าไหร่ต่อวัน? (Iron and baby development)

อัปเดตเมื่อ 14 พ.ค. 2566

ธาตุเหล็ก หรือ Iron (Fe) หนึ่งในเกลือแร่ที่สำคัญต่อร่างกายคนเรานะคะ โดยเฉพาะลูกน้อย ที่กำลังเจริญเติบโต แล้วธาตุเหล็กมีความสำคัญต่อลูกน้อยของเราอย่างไร ไปติดตามกันในบทความนี้ค่ะ



ธาตุเหล็ก มีความสำคัญต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง (RBCs) ที่มีความสำคัญต่อการทำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย หากธาตุเหล็กของลูกน้อยไม่เพียงพอ อาจทำให้เม็ดเลือดแดงที่นำพาออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่ว่าจะเป็น กล้ามเนื้อ สมอง เซลล์ ต่างๆ ไม่เพียงพอ

  • ลูกน้อย ที่ทานนมแม่ จะมีธาตุเหล็กสะสมเพียงพอในช่วง 6 เดือนแรก

  • ลูกน้อย ที่ดื่มนมผง จะได้รับธาตุเหล็กที่ผสมอยู่ในนมผง

แต่เมื่อลูกเริ่มทานอาหาร ช่วงหลัง 6 เดือน อาจมีการเลือกทานอาหาร หรือ ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ทำให้เกิดภาวะซีดหรือ iron deficiency anemia ซึ่งการขาดธาตุเหล็กในลูกน้อย อาจส่งผลเสียต่างๆ ตามมาเช่น

  • การเรียนรู้ที่แย่ลง

  • IQ ที่ต่ำลง

  • พัฒนาการด้านร่างกายที่ช้า

  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง

  • ภูมิคุ้มกันของร่างกายที่แย่ลง

ลูกน้อยต้องการธาตุเหล็กเท่าไหร่? (1)

  • ช่วง 1-3 ปี : 7 มิลลิกรัม ต่อวัน

  • ช่วง 4-8 ปี : 10 มิลลิกรัม ต่อวัน

  • ช่วง 9-13 ปี : 8 มิลลิกรัม ต่อวัน

ที่ต้องระมัดระวังคือ เด็กที่อายุน้อยกว่า 14 ปี ไม่ควรทานธาตุเหล็กเกิน 40 มิลลิกรัมต่อวันค่ะ


อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง

  • เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู ตับ เครื่องในสัตว์

  • ปลา

  • ซีเรียล

  • ผักใบเขียว เช่น kale บล็อคโคลี่ ผักโขม

  • ถั่ว

  • ลูกพรุน

อย่างไรก็ตาม เด็กบางคนอาจมีความเสี่ยงที่อาจจะขาดธาตุเหล็ก ที่ควรต้องปรึกษาแพทย์ เช่น

  • เด็กเลือกกิน หรือกินยาก

  • เด็กที่ทานแต่ผัก

  • เด็กที่มีปัญหาเรื่องการดูดซึมธาตุเหล็ก เช่น มีปัญหาของลำไส้ มีการติดเชื้อเรื้อรัง

  • เด็กที่คลอดก่อนกำหนด

  • แม่มีปัญหาขาดธาตุเหล็ก

  • เด็กที่ดื่มนมวัว เป็นจำนวนมาก

  • เด็กที่มีปัญหาเรื่องพัฒนาการ


เมื่อไหร่ต้องตรวจเรื่องซีด


โดยส่วนใหญ่แพทย์จะมีการตรวจเพื่อหาภาวะซีด หากลูกมีสัญญาณของการขาดธาตุเหล็ก

  • มีปัญหาเรื่องพฤติกรรม

  • ไม่ค่อยทานอาหาร

  • มีอาการอ่อนแรง

  • มีอาการอยากทานอะไรแปลกๆ เช่นอยากกินดิน

  • การเจริญเติบโตต่ำกว่าเกณฑ์

กรณีที่ลูกมีปัญหาขาดธาตุเหล็ก แพทย์ทานมีการให้เสริมธาตุเหล็กเพิ่มเติมค่ะ หากคุณแม่ท่านไหนมีข้อกังวลใดๆ สามารถปรึกษาแพทย์ใกล้บ้านได้เลยนะคะ


หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ค่ะ


เขียนโดย

พญ. ทานตะวัน จอมขวัญใจ หมอหน่อย (Tantawan Jomkwanjai.MD)





ดู 1,866 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comentários


bottom of page