บ้านไหนที่มีลูกอายุ 1-3 ขวบ แล้วมีปัญหาลูกไม่ยอมทานบ้างคะ? ถ้าคุณแม่มีปัญหา ไม่ใช่แค่คุณแม่ค่ะ แทบทุกบ้านมักจะมีปัญหานี้เช่นกัน แล้วทำไมลูกไม่ยอมทานข้าว? ต้องกังวลแค่ไหน แล้วมีวิธีไหนที่สามารถกระตุ้นให้ลูกทานได้เยอะขึ้นบ้าง? ทำยังไงลูกจะไม่ขาดสารอาหาร วันนี้มาติดตามกันได้ที่บทความนี้กันค่ะ
จริงๆ แล้ว เป็นเรื่องปกติมากๆ สำหรับเด็กอายุ 1-3 ขวบ ที่จะมีพฤติกรรมไม่ยอมทานข้าว หรือทานข้าวยากขึ้น ซึ่งสาเหตุโดยส่วนใหญ่มาจาก
ความยากอาหารของลูกอาจเปลี่ยนแปลงจากการเปลี่ยนของกิจกรรมที่มากขึ้น และ growth spurts
การเติบโตของลูกจะไม่ได้เร็วเหมือนตอนเด็กๆ ทำให้ความอยากกินหรือความหิวลดลง
กระเพราะอาหารลูกมีขนาดไม่ใหญ่
ลูกมีความสนใจในสิ่งแวกล้อมรอบตัว ทำให้สนใจในอาหารลดลง
ลูกเริ่มแสดงออกถึงความต้องการของตัวเองชัดเจนขึ้น
รับมือกับพฤติกรรมไม่ยอมทานข้าวของลูกยังไงดี?
สิ่งที่ควรทำเสมอคือ เลือกเสิร์ฟอาหารที่ดีต่อสุขภาพของลูก ถ้าลูกทานอาหารในแต่ละมื้อไม่หมด ลองเสิร์ฟอาหารสุขภาพในปริมาณที่น้อยลง ลูกจะขอทานเพิ่มเองถ้าเค้ายังหิว อย่ายัดเยียดหรือบังคับให้ลูกทานให้หมด เนื่องจากอาจทำให้ลูกเครียด และทำให้การกินของลูกแย่ลงไปอีก
ในช่วงอาหารว่าง พยายามเลือกอาหารว่างที่ดีต่อสุขภาพ ให้ยังได้รับสารอาหารและพลังงานจากอาหารว่างได้ เช่น นม โยเกิร์ต ผลไม้ ในช่วง 1-3 ขวบ ลูกมักจะต้องการแค่อาหารมื้อเล็กๆ แต่อาจจะทานบ่อยๆ ซึ่งลูกมักจะสามารถบอกความต้องการของตัวเองได้ และอยากตัดสินใจในการกินมากขึ้น ซึ่งจริงๆ พบว่า การให้ลูกตัดสินใจเอง ส่งผลดีต่อพฤติกรรมการกินในอนาคตของลูกน้อยด้วยค่ะ
การที่ลูกทานน้อยลง ไม่ได้ตัดสินเรื่องการทานของลูกในตอนนี้นะคะ เพราะวันนี้หรืออาทิตย์นี้ไม่ทาน วันพรุ่งนี้หรืออาทิตย์หน้า ลูกก็อาจทานเยอะขึ้นได้ค่ะ
เทคนิคการแนะนำอาหารใหม่ๆ ให้ลูกน้อย
ช่วงนี้เป็นเรื่องปกติมากๆ ที่ลูกจะไม่ยอมลองทานอะไรใหม่ๆ แต่หมอหน่อยมีเทคนิคดีๆ มาแชร์ค่ะ
สร้างสิ่งแวดล้อมในการกินแบบเชิงบวก
สร้างบรรยากาศการกินในสนุก พ่อแม่ลูกทานข้าวพร้อมหน้า มีความสุขในการทาน
ในลูกมีส่วนร่วมในการเตรียมอาหาร
เป็นตัวอย่างในลูกเห็นว่า คุณพ่อคุณแม่มีความสุขในการทานอาหาร จากอาหารที่ทำด้วยกัน
แนะนำอาหารตอนที่ลูกของเราผ่อนคลาย มีความสุข ไม่ใช่ช่วงที่เหนื่อยมากๆ ง่วงมากๆ
ตั้งเวลาทาน 20-30 นาที ถ้าทานไม่หมด สามารถเก็บได้ จะทำให้ลูกรู้เวลาในการทาน ไม่ต้องเสิร์ฟอาหารว่างในช่วงเวลาอาหารหลัก ให้เสิร์ฟช่วงอาหารว่างจริงๆ
เสิร์ฟอาหารชนิดใหม่ พร้อมๆ กับอาหารที่ลูกชอบ จะเพิ่มโอกาสให้ลูกยอมทดลองมากขึ้น
เลือกนำเสนออาหารใหม่ในรูปแบบที่ทุกคนในครอบครัวทานเช่นกัน เนื่องจากลูกมักจะอยากทานอาหารแบบเดียวกันกับผู้ใหญ่
เมื่อไหร่ที่ควรต้องกังวลเรื่องที่ลูกไม่ยอมทานอาหาร
หากลูกน้อยสุขภาพแข็งแรง การเติบโตตามเกณฑ์ มีพลังงานในการเล่นและเรียนรู้ตามปกติ นั่นแสดงว่าลูกได้รับสารอาหารและพลังงานอย่างเพียงพอค่ะ
แต่ควรปรึกษาหมอเด็ก หรือนักโภชนาการ หากลูกมีปัญหาต่อไปนี้
การเจริญเติบโตต่ำกว่าเกณฑ์
พัฒนาการด้านต่างๆ ต่ำกว่าเกณฑ์
ทานแต่อาหารชนิดเดิมๆ เป็นเวลานาน
ไม่ยอมทานมากกว่า 1-2 สัปดาห์
กรณีแบบนี้ เจอไม่บ่อย แต่ถ้าเข้าเกณฑ์ควรปรึกษาแพทย์ใกล้บ้านเพิ่มเติมนะคะ หวังว่า บทความนี้คงมีประโยชน์กับทุกคนนะคะ แล้วมาติดตามกันใหม่ในบทความหน้าค่ะ
เขียนโดย
พญ. ทานตะวัน จอมขวัญใจ หมอหน่อย (Tantawan Jomkwanjai.MD)
Комментарии