อุณหภูมิกายขณะพัก หรือ Basal Body temperature (BBT) เป็นวิธีการที่ดีอย่างหนึ่งที่จะสามารถช่วยยืนยันวันไข่ตกจริงๆ ได้ สามารถคาดการณ์วันไข่ตกได้ แล้ว Basal Body temperature (BBT) คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไรบ้าง? วันนี้ไปติดตามกันได้เลยค่ะ
อุณหภูมิการขณะพัก หรือ Basal Body Temperature (BBT) ร่างกายในช่วงที่พัก หลังตื่นนอนทันที ซึ่ง BBT จะต่ำลงเล็กน้อยในวันไข่ตก (Dip) และจะสูงขึ้นเล็กน้อยหลังไข่ตก (Rising) เนื่องจากหลังไข่ตก ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมน Progesterone ในช่วง Luteal phase ทำให้อุณหภูมิการขณะพัก (BBT) สูงขึ้นเล็กน้อย (0.3-0.6 องศาเซลเซียส) และสูงต่อเนื่อง(Sustained) ไปจนถึงช่วงก่อนมีประจำเดือนก็จะเริ่มต่ำลงอีกครั้ง ซึ่งลักษณะอุณหภูมิที่สูงขึ้นนี้ จะช่วยทำให้เราสามารถ Pinpoint วันไข่ตกได้ แตกต่างจากสัญญาณอื่นๆ เช่น มูกไข่ตก แผ่นตรวจไข่ตก ที่บอกแค่ว่าไข่ใกล้ตกแล้ว (Approaching) เท่านั้น
ประโยชน์ของ Basal body temperature (BBT)
1. ช่วยบอกวันไข่ตกที่แน่ชัด (Pinpoint ovulation) เนื่องจากหลังไข่ตก Corpus luteum จะสร้างฮอร์โมน Progesterone ซึ่งเป็นการเข้าสู่ช่วง Luteal phase ผลจากฮอร์โมน Progesterone ที่สูงขึ้นในร่างกายจะทำให้อุณหภูมิกายขณะพักสูงขึ้นเล็กน้อย และสูงลอย (Sustained) ไปจนถึงช่วงก่อนมีประจำเดือน ซึ่งฮอร์โมน Progesterone จะต่ำลง ทำให้ Basal Body Temperature ต่ำลงไปด้วย ซึ่งเราจะเห็นลักษณะของกราฟเป็นลักษณะของ Biphasic (ดังภาพตัวอย่าง) นอกจากนี้ยังมีประโยชน์กับคนที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือ PCOS เพื่อหาวันไข่ตก เนื่องจากการใช้แผ่นตรวจไข่ตกอาจไม่เหมาะสมนักในคนที่มีฮอร์โมน LH สูงตลอดเวลาเช่นในคนที่เป็น PCOS การใช้ BBT จึงอาจเป็นตัวช่วยหนึ่งที่สามารถบอกวันไข่ตกในคนที่เป็น PCOS ได้
2. ช่วยบอกระยะของ Luteal Phase ช่วง Luteal phase เป็นช่วงหลังไข่ตกจนถึงวันที่ประจำเดือนมาวันแรกอีกครั้ง ความสำคัญของ Luteal phase คือเป็นช่วงเตรียมผนังมดลูกให้เหมาะสมต่อการฝังต่อของตัวอ่อน โดยการทำงานของ ฮอรโมน Estrogen และ Progesterone ซึ่งโดยปกติ ช่วง Luteal phase นี้จะมีระยะเวลาอยู่ที่ 12-14 วัน แต่อาจสั้นยาวขึ้นในแต่ละคน คืออยู่ในช่วง 11-17 วัน หากช่วง Luteal phase สั้นคือ น้อยกว่า 10 วัน (Short Lureal phase ) อาจส่งผลให้มดลูกไม่เหมาะต่อการฝั่งตัวของตัวอ่อน และอาจเกิดภาวะมีบุตรยากได้ ดังนั้นการติดตาม BBT ทำให้เราสามารถที่จะทราบระยะ Luteal phase ของเราได้
3. ช่วยคาดการณ์การตั้งครรภ์ได้ เนื่องจากโดยปกติแล้ว หากเราติดตาม Basal Body Temperature ไปเรื่อยๆ ช่วงที่จะเริ่มมีประจำเดือนรอบถัดไป จะพบว่า Basal Body Temperature จะต่ำลงเนื่องจากฮอร์โมน Progesterone จะลดต่ำลง แต่หากตั้งครรภ์ (Pregnant) ฮอร์โมน Progesterone จะสูงขึ้นไปอีกเล็กน้อย ถ้าดูจากกราฟจะเห็นเป็นลักษณะของ Triphasic pattern (ดังภาพ) รวมถึงระยะ Luteal phase อาจจะดูนานขึ้นกว่าปกติ ถ้าเห็นลักษณะกราฟแบบนี้ อาจตรวจการตั้งครรภ์ เพื่อยืนยันอีกครั้ง เนื่องจากอุณหภูมิสามารถเป็นแบบนี้ได้เช่นกัน เช่นมีซีสที่รังไข่ เป็นต้น
4. ช่วยวางแผนมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลาที่เหมาะสม หากเราได้ติดตามรูปแบบของ Basal Body Temperature (BBT) ไปเรื่อยๆ ประมาณ 2-3 เดือน เราจะเริ่มเห็นรูปแบบ และช่วงวันที่ไข่ของเราตก เช่น ไข่จะตกประมาณวันที่ 14-15 ของรอบเดือน เมื่อเราทราบแบบแผนนั้นแล้ว เราสามารถวางแผนที่จะเริ่มมีเพศสัมพันธ์ เพื่อเพิ่มโอกาสการมีลูก โดยควรเริ่มมีเพศสัมพันธ์ สม่ำเสมอก่อนไข่ตกประมาณ 3-4 วัน โดยอาจใช้สัญญาณอื่น เพื่อช่วยในการดูด้วย เช่น มูกไข่ตก แผ่นตรวจไข่ตกเป็นต้น ในกรณีที่เราใช้ BBT ในการติดตามวันไข่ตกอยู่แล้ว ถ้ายังไม่มีช่วงที่ BBT สูงขึ้น แนะนำให้มีเพศสัมพันธ์ ไปเรื่อยๆ จนอุณหภูมิ BBT สูงขึ้นคงที่ เพราะนั่นเป็นสัญญาที่บอกแน่ชัดว่า ไข่ได้ตกไปเรียบร้อยแล้ว
อุณหภูมิกายขณะพัก หรือ Basal Body temperature เป็นสัญญาณหนึ่ง ที่มีความสำคัญที่ช่วยบอกรูปแบบของรอบเดือนของเราได้ แต่การตรวจ BBT ก็มีเทคนิคในการตรวจเพื่อให้ได้ค่าที่น่าเชื่อถือ และมีปัจจัยบางอย่างที่ทำให้ BBT มีการเปลี่ยนแปลงได้ ติดตามอ่านเรื่อง "เทคนิคการวัดอุณหภูมิกายขณะพัก" เพื่อทำความเข้าใจและจะได้ตรวจ Basal body temperature (BBT) ได้อย่างถูกต้องค่ะ
Tantawan Prasopa. MD (พญ. ทานตะวัน พระโสภา) drnoithefamily
#drnoithefamily #IF #basalbodytemperature #BBT #ovulation #fertility #pregnancy #อยากมีลูก #เตรียมตัวท้อง #เตรียมพร้อมตั้งครรภ์ #เตรียมตัวมีลูก #ความรู้สุขภาพ #อุณหภูมิกายขณะพัก #สัญญาณไข่ตก #ไข่ตก
Commenti