top of page
รูปภาพนักเขียนdrnoithefamily

11 เหตุผลที่ "ทำไมไม่ท้องซะที" (Why You Are Not Getting Pregnant?)

อัปเดตเมื่อ 1 เม.ย. 2566

ถ้าคุณกำลังพยายามมีลูกมาซักระยะหนึ่งแต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ อาจกำลังสงสัยว่า ทำไมเราไม่ท้องซักที? สาเหตุที่ไม่ท้องมาจากอะไรได้บ้าง? วันนี้เราจะมาเรียนรู้สาเหตุที่พบบ่อย แล้วจะสามารถแก้ปัญหานั้นได้ยังบ้าง ไปติดตามในบทความกันได้เลยค่ะ



ในแต่ละดือนเรามีโอาสท้องมากแค่ไหน?


ในกรณีที่คุณมีสุขภาพแข็งแรง ประจำเดือนมาสม่ำเสมอทุกเดือน โอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์ในแต่ละเดือนจะอยู่ที่ 25% ถ้ามีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอไปเรื่อยๆ จะมีโอกาสท้องสำเร็จ 85% ใน 1 ปี และ 95% ใน 2 ปี หากคู่ไหนที่พยายามมีลูกมาซักระยะแล้ว ยังไม่ประสบความสำเร็จอาจต้องลองกลับมามอง สาเหตุต่างๆ ที่พบได้บ่อยๆ ดังตัวอย่างนี้นะคะ


1. ปัญหาสุขภาพของฝ่ายหญิง


ปัญหาสุขภาพที่อาจเป็นอุปสรรค์ต่อการมีลูกในฝั่งฝ่ายหญิง มีหลายสาเหตุเช่น

  • ภาวะไข่ไม่ตกเรื่องรัง เช่น ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบหรือ PCSO

  • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)

  • ท่อนำไข่ตัน ทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถเดินทางไปฝังตัวที่ผนังมกลูกได้

  • เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก (Myoma uterine)

  • การตกไข่ผิดปกติ ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ทำให้หาวันไข่ตกลำบาก

  • อายุที่มากขึ้น ส่งผลให้ไข่เริ่มเสื่อมคุณภาพ

  • ภาวะขาดสารอาหาร เช่น ขาดวิตามินดี ภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก เป็นต้น

  • ปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่นโรคประจำตัว โรคไทรอยด์ โรคภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ เป็นต้น

คำแนะนำ : ปัญหาสุขภาพหลายอย่างสามารถแก้ไข เพิ่มเพื่อโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อหาสาเหตุที่เกี่ยวข้องและทำการแก้ไขตามคำแนะนำของแพทย์ รวมถึงทางวิตามินบำรุงอย่างสม่ำเสมอ ทานอาหารที่มีประโยชน์


2. ปัญหาสุขภาพของฝ่ายชาย

  • ปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพของสเปิร์ม เช่น ปริมาณน้อย รูปร่างผิดปกติ การเคลื่อนที่ผิดปกติ

  • ภาวะหลอดเลือดดำอัณฑะขอด หรือ Varicocele

  • การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์

  • ปัญหาท่อนำอสุจิผิดปกติ

  • อัณฑะไม่ลงถุง (Undescended testicles)

  • ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรสต่ำ

  • ปัญหานกเขาไม่ขัน (Erectile dysfunction)

  • ปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง

คำแนะนำ : เช่นเดียวกันกับของฝ่ายหญิงคือ ควรตรวจร่างกาย ตรวจสเปิร์ม เพื่อดูว่ามีความผิดปกติที่เป็นสาเหตุทำให้มีบุตรยากหรือไม่ แล้วทำการแก้ไขต่อไป


3. ภาวะเครียด (Over-stress)


ความเครียด เป็นสาเหตุ สำคัญที่ทำให้มีบุตรยากขึ้น ความเครียดส่งผลโดยรวมต่อร่างกายและจิตใจของทั้งหญิงและชาย เนื่องจากร่างกายของเราจะให้ความสำคัญต่อความเครียดเป็นอันดับหนึ่ง ทำให้ระบบอื่นๆที่ไม่จำเป็นเช่นระบบสืบพันธ์ทำงานลดลง ส่งผลให้ ในหญิงอาจมีไข่ตกช้า หรือไม่ตกเลย คุณภาพไข่ผิดปกติ หรือตัวอ่อนฝังตัวไม่สำเร็จ ส่วนในชาย อาจทำให้ความต้องการทางเพศลดลง สเปิร์มคุณภาพแย่ลง หรือมีปัญหานกเขาไม่ขันได้


คำแนะนำ : ทางวิธีลดความเครียด ในแบบที่เหมาะสมกับคุณเอง เช่น การออกกำลังกาย นั่งสมาธิ ท่องเที่ยวธรรมชาติ สามารถอ่านเพิ่มเติมเรื่อง "ความเครียดกับการมีลูก"


4. ผอมหรืออ้วนเกินไป (Under or overweight)


น้ำหนักตัวมีความสำคัญต่อระบบสืบพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นน้ำหนักตัวที่น้อยไป หรือ มากไป มักจะส่งผลต่อการทำงานของฮอร์โมนเพศ ทั้งหญิงและชาย อาจทำให้การทำงานของฮอร์โมนผิดปกติ เช่นไข่ไม่ตก การสร้างสเปิร์มผิดปกติ โดยน้ำหนักตัวที่เหมาะสมในช่วงวางแผนมีลูกคือ BMI 20-24


คำแนะนำ : ควบคุมการกินอาหารให้ถูกวิธี ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ถ้าน้ำหนักเกินให้ลดน้ำหนักลงมาประมาณ 5-10% ของน้ำหนักตัวเดิม ถ้าน้ำหนักตัวน้อยเกินไปแนะนำให้เพิ่มน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม


5. การกินอาหารที่ไม่ดีต่อระบบสืบพันธ์


อาหารบางอย่างส่งผลต่อระบบสืบพันธ์ทั้งหญิงและชาย เช่น Trans Fat อาหารที่มี Glycemic index สูง (อ่านเพิ่มเติมเรื่องอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง) เนื่องจากอาหารเหล่านี้อาจส่งผลต่อการทำงานของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธ์ ทำให้การทำงานผิดปกติได้


คำแนะนำ : หลีกเลี่ยงอาหารที่อาจส่งผลต่อการทำงานของระบบสืบพันธ์ ให้เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลาย


6. การใช้สารหล่อลื่น (Over-use of lubricants)


สารหล่อลื่นตามท้องตลาดเช่นกลุ่ม KY-gel มักส่งผลในทางลบต่อสเปิร์ม ทำให้สเปิร์มไม่สามารถเดินทางได้และอาจตายไป การใช้สารหล่อลื่นในช่วงที่กำลังพยายามจะมีลูก จึงอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ยังไม่ประสบความสำเร็จ


คำแนะนำ : หากจำเป็นต้องใช้สารหล่อลื่น แนะนำกลุ่ม Sperm friendly เช่น Conceive Plus หรือ Pre-Seed เพื่อช่วยใหสเปิร์มเคลื่อนที่ได้ดีขึ้น


7. มีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่ไม่เหมาะสม


มีคำกล่าวว่า "Timing is everything" เพราะโอกาสในการตั้งครรภ์ไม่ได้เท่ากันตลอดทั้งเดือน เนื่องจากไข่ของผู้ญิงไข่จะตกแค่เดือนละ 1 ครั้งและจะสลายไปใน 12-24 ชั่วโมง ดังนั้นช่วงเวลาจึงมีความสำคัญมาก หากไม่ได้มีเพศสัมพันธ์ในช่วงไข่ตกอาจทำให้โอกาสในการประสบความสำเร็จลดลง อ่านเพิ่มเติมเรื่อง "หาวันไข่ตกและช่วงที่มีโอกาสท้องสูง"


คำแนะนำ : มีเพศสัมพันธ์ในช่วงก่อไข่ตก โดยช่วงเวลาที่มีโอกาสท้องสูงคือ 5 วันก่อนไข่ตก จนถึง 1 วันหลังไข่ โดยติดตามหาวันไข่ตก โดยใช้การคำนวณ การดูมูกไข่ตก การวัดอุณหภูมิกายขณะพัก หรือใช้แผ่นตรวจไข่ตก

ตัวช่วยหาวันไข่ตก : https://www.drnoithefamily.com/product-page/ovulation-test-strips


8. การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอร์ หรือใช้สารเสพย์ติด


ทั้งการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอร์ หรือการใช้สารเสพย์ติด ส่งผลเสียต่อร่างกายด้านต่างๆ รวมถึงระบบสืบพันธ์ของเราด้วย อาจส่งผลให้การสร้างสเปิร์มผิดปกติ การตกไข่ผิดปกติ


คำแนะนำ : พยายามลดหรืองด พฤติกรรมเหล่านี้อย่างน้อย 2-3 เดือนก่อนเริ่มปล่อยมีลูก เพื่อให้ร่างกายกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ช่วยให้ไข่และสเปร์มมีคุณภาพ


9. การนอนหลับไม่เพียงพอ


การนอนมีความสำคัญต่อระบบสืบพันธ์ การนอนหลับอย่างเพียงพอช่วยให้การตกไข่เป็นปกติ ไข่มีคุณภาพ การสร้างสเปิร์มผิดปกติ นอกจากนี้ยังส่งผลดีโดยรวมต่อร่างกาย อ่านเพิ่มเติมเรื่อง "การนอนหลับกับการมีลูก"


คำแนะนำ : ควรนอนหลับให้ได้อย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อวัน โดยเฉพาะควรเข้านอนในช่วง 22.00-02.00 เนื่องจากเป็นช่วงที่ฮอร์โมนเมลาโทนินหลั่งออกมามากที่สุด ซึ่งเป็นผลดีต่อทั้งไข่และสเปิร์ม


10. ขาดวิตามินบางชนิด


มีวิตามินหลายชนิด ที่มีผลต่อการเจริญพันธ์ของทั้งหญิงและชาย โดยพบว่าการขาดวิตามินที่จำเป็นต่างๆเหล่านี้อาจส่งผลทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากได้ เช่น ภาวะขาด วิตามินดี ไอโอดีน ธาตุเหล็ก Zinc (สังกะสี) หรือ Folic acid ซึ่งวิตามินต่างๆ เหล่านี้มีความสำคัญต่อการสร้างสเปิร์ม การเจริญเติบโตของไข่ รวมถึงการทำงานของฮอร์โมนเพศต่างๆด้วย


คำแนะนำ : ทานวิตามินบำรุงที่จำเป็นเสริมในขนาดที่เหมาะสมและเพียงพอ โดยในหญิงควรเริ่มทานวิตามินบำรุงก่อนและระหว่างตั้งครรภ์ (Prenatal vitamins) ตั้งแต่เริ่มวางแผนมีลูก ในชายสามารถทานวิตามินรวมสำหรับผู้ชาย เพิ่มบำรุงร่างกายและเพิ่มคุณภาพให้การสร้างสเปิร์ม

วิตามินบำรุง : https://www.drnoithefamily.com/products


11. อาจต้องใช้เวลา


ในวัยเจริญพันธุ์ที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี โอกาสประสบความสำเร็จในแต่ละเดือน มีแค่ประมาณ 25% เท่านั้น และจะลดลงไปเรื่อยๆ เมื่ออายุมากขึ้น โดยพบว่า 85% จะสำเร็จได้ใน 1 ปี และ 90% จะสำเร็จได้ใน 2 ปี


คำแนะนำ : ให้มีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ อาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง โดยหากพยายามมากกว่า 1 ปีในคนที่อายุน้อยกว่า 35 ปีแล้วยังไม่ประสบความสำเร็จ ในปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุเพื่อแก้ไข แต่หากอายุมากกว่า 35 ปี หากไม่ประสบความสำเร็จใน 6 เดือนควรปรึกษาแพทย์ทันที


อย่างไรก็ตาม หากเพื่อนพยายามมาระยะหนึ่งแต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ ควรหาเวลาเพื่อปรึกษาแพทย์และหาสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก ซึ่งพบว่า หลังคู่ที่มีปัญหามีบุตรยากได้ปรึกษาแพทย์เพื่อแก้ไขสาเหตุ หลังจากแก้ไขสาเหตุแล้ว 65% สามารถประสบความสำเร็จด้วยวิธีธรรมชาติได้ ดังนั้น ไม่ต้องกังวลที่จะไปพบแพทย์นะคะ จริงๆ สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจร่างกายได้ตั้งแต่เริ่มต้นวางแผนตั้งครรภ์เลยค่ะ เพราะหลายสาเหตุเราสามารถแก้ไขได้ล่วงหน้าได้ ทั้งยังเพิ่มโอกาสให้เราประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้นด้วยค่ะ





ที่สำคัญอย่าลืมเริ่มต้นบำรุงไข่ บำรุงร่างกาย ด้วยวิตามินที่จำเป็นตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์นะคะ

วิตามินบำรุง : https://www.drnoithefamily.com/products


10 สาเหตุที่ทำให้คุณไม่ท้อง


Tantawan Prasopa. MD (พญ. ทานตะวัน พระโสภา) drnoithefamily


#drnoithefamily #ภาวะมีบุตรยาก #สาเหตุที่ไม่ท้องซักที #ทำไมไม่ท้องซักที #วางแผนมีลูก #อยากมีลูก #เตรียมตัวท้อง #เตรียมพร้อมตั้งครรภ์ #อยากมีลูกทำอย่างไร #เทคนิคมีลูกง่าย #เคล็ดลับท้องง่าย


ดู 4,920 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page